Page 25 -
P. 25
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
14 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)
ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เพื่อให้เห็นบทบาทของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 และผู้บ่มเพาะศาสตร์แห่งแผ่นดินในความทรงจ าของคน
ร่วมสมัยตามที่กาญจนา นาคนันทน์ถ่ายทอดไว้ในเรื่องผู้ใหญ่ลีกับนางมา และร าลึกถึง
วาระครบรอบ 72 ปีแห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เขียนจึงใคร่ขอบันทึก
ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัยพอเป็นสังเขปไว้ ณ ที่นี้ว่า ความคิดเรื่องการ
จัดตั้งระบบการศึกษาวิชาเกษตรให้เป็นระบบโรงเรียนในประเทศไทยมีมาตั้งแต่ก่อน
การก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว โดยใน พ.ศ.2447 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม อธิบดีกรมช่างไหมในกระทรวงเกษตราธิการ ทรงจัดตั้ง
โรงเรียนช่างไหมหลักสูตร 2 ปี สอนเรื่องการเลี้ยงไหมโดยเฉพาะ จากนั้นใน พ.ศ.2449
ได้ขยายหลักสูตรเป็น 3 ปี โดยเพิ่มวิชาการเพาะปลูกพืชอื่นๆ และวิชาสัตวแพทย์
ต่อมาระหว่าง พ.ศ.2457-2466 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ
ได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมหอวังที่กรุงเทพฯ โดยระหว่าง พ.ศ.2467-
2485 มีการขยายโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมไปสู่ทุกภาคด้วย
ใน พ.ศ.2474 หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร อธิบดีกรมตรวจกสิกรรมในกระทรวง
เกษตราธิการ ทรงด าริว่าควรจัดตั้งสถานีทดลองกสิกรรมควบคู่ไปกับโรงเรียนฝึกหัด
ครูประถมกสิกรรมขึ้นที่ภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคพายัพ เพื่อให้งานวิจัยด้านการเกษตร
ด าเนินควบคู่กันไปกับการให้การศึกษาทางด้านนี้ โดยที่ภาคอีสานมีหลวงอิงคศรีกสิการ
เป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมโนนวัด ที่อ าเภอโนนสูง จังหวัด
นครราชสีมา หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจเป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนฝึกหัดครูประถม
2
กสิกรรม ที่ต าบลคอหงษ์ อ าเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และพระช่วงเกษตรศิลปการ
เป็นอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมแม่โจ้ ที่อ าเภอสันทราย
2 หนังสือ 50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: ก าเนิดและพัฒนาการ หน้า 33-34
เรียกว่าโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม แต่ http://www.ku.ac.th/general/history1x.html
อันเป็นเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรียกว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม
คอหงษ์”.