Page 21 -
P. 21
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
10 Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)
หากพิจารณาตามปี พ.ศ.2504 ที่ปรากฏในบทเพลง สันนิษฐานได้ว่าช่วงเวลา
ที่รัฐสั่งให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกรน่าจะอยู่ในสมัยที่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็น
นายกรัฐมนตรี (พ.ศ.2502-2506) แต่ผู้ประพันธ์เรื่องผู้ใหญ่ลีกับนางมาได้สันนิษฐาน
เกี่ยวกับต้นตอของเพลงนี้ในค าน าตอนต้นของนวนิยายชื่อ “ผู้ประพันธ์คุยกับผู้อ่าน”
ว่าเรื่องดังกล่าวน่าจะเกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2482-2488) สมัยที่
จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยแรก (พ.ศ.2481-2487) ดังตอนที่ว่า
[...] “พ.ศ. 2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม...” เวลาเห็นจะ
คลาดเคลื่อนไปมากเพราะเมื่อปี 2486 ดิฉันได้ทราบเรื่องนี้ แสดง
ว่ามันต้องเกิดก่อนหน้านี้แน่ จึงสันนิษฐานเอาเองว่า คงจะเป็นปี
2484 หรือใกล้เคียงกันนี้ ในระหว่างนั้นรัฐบาลประกาศให้ราษฏร
ท าอะไรหลายๆ อย่างเช่น [...] ให้ท าสวนครัว เลี้ยงไก่ […] ท่านว่า
การท าเช่นนั้นจะช่วยให้ไทยชนะสงครามได้ ในที่สุดไทยก็ชนะ
จริงๆ แต่ชนะอย่างที่ใครๆ ก็คงจะทราบอยู่แล้ว ขอให้เข้าใจว่า
การนี้มีผู้ใหญ่ลีร่วมมือด้วยอย่างจริงจังผู้หนึ่ง
(กาญจนา นาคนันทน์, 2540: 5-6)
เหตุที่ผู้ประพันธ์กล่าวว่าการที่ไทยชนะสงครามได้ในที่สุดโดยมีผู้ใหญ่ลี
ร่วมมือด้วยอย่างจริงจังผู้หนึ่งนั้น น่าจะเป็นเพราะผู้ประพันธ์เห็นว่าผู้ใหญ่ลียินดี
สนองนโยบายของรัฐทุกเรื่องตามที่รัฐเล็งเห็นว่าจะสามารถช่วยให้คนไทยพึ่งพา
หลายเพลง เช่น ผู้ใหญ่ลีเข้ากรุง ผู้ใหญ่ลีหาคู่ เมียผู้ใหญ่ลี ลูกสาวผู้ใหญ่ลี ผู้ใหญ่ลีผู้ใหญ่มา
และยังมีการน าไปสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่อง ลูกสาวผู้ใหญ่ลี (พ.ศ.2507) โดยศักดิ์ศรี ศรีอักษร
รับบทเป็นลูกสาวผู้ใหญ่ลี คู่กับดอกดิน กัญญามาลย์ ผู้รับบทเป็นผู้ใหญ่ลี หลังจากเพลง
ผู้ใหญ่ลีฉบับดั้งเดิมเริ่มเสื่อมความนิยม ผู้ประพันธ์เพลงยังน าเพลงนี้ไปดัดแปลงเป็นจังหวะ
วาทูซี (Watusi) ใช้ชื่อเพลงว่า ผู้ใหญ่ลีวาทูซี ให้ศักดิ์ศรี ศรีอักษร น ามาขับร้องใหม่ด้วย ใน
พ.ศ.2534 เพลงผู้ใหญ่ลีได้รับเลือกให้เป็นเพลงลูกทุ่งดีเด่นจากงาน “กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่ง
ไทยครั้งที่ 2” และได้รับการบันทึกเสียงใหม่อีกหลายครั้งโดยนักร้องอื่นๆ ต่อมาใน พ.ศ.
2547 เพลงผู้ใหญ่ลียังถูกน าไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โฆษณาของธนาคารกรุงไทยจนถูก
ประท้วงจากสมาคมก านันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย (ผู้ใหญ่ลี, https://th.wiikipedia.org).