Page 20 -
P. 20
โครงการรวบรวมและจัดทําวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วารสารมนุษยศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) 9
บทเพลง นวนิยาย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เพลง “ผู้ใหญ่ลี” ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากใน พ.ศ.2508 อันเป็นปีเดียวกับ
ั
ที่นวนิยายเรื่องผู้ใหญ่ลีกับนางมา เริ่มพิมพ์เผยแพร่เป็นตอนๆ ในนิตยสารรายปกษ์
สตรีสาร และเป็นปีเดียวกับที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพิ่งครบรอบการก่อตั้งได้
22 ปี ทั้งสามเรื่องนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรและมีอะไรเกี่ยวข้องกับศาสตร์แห่ง
แผ่นดินที่น่ากล่าวถึง
ด้านบทเพลง กาญจนา นาคนันทน์กล่าวไว้ใน “ผู้ประพันธ์คุยกับผู้อ่าน” ว่า
ทุกครั้งที่ได้ยินเพลง “ผู้ใหญ่ลี” เธอจะนึกถึงผู้ใหญ่ลีและชาวอีสานด้วยความเอ็นดูใน
ความหัวอ่อนเป็นพลเมืองดีของคนเหล่านี้ที่ยินดีท าตามนโยบายของรัฐทุกอย่างโดย
ไม่มีข้อโต้แย้ง แม้จะไม่รู้ว่าแท้จริงแล้ว “สุกร” ที่ทางการสั่งให้เลี้ยงคือสัตว์ชนิดใด แต่
ก็พยายามท าความเข้าใจด้วยการน ามาเทียบเคียงกับค าว่า “นัก” ซึ่งในภาษาถิ่นอีสานมี
ความหมายว่า “ใหญ่” จึงสรุปเอาเองว่าหาก “สุนัข” แปลว่า “หมาใหญ่” ค าว่า “สุกร”
ก็น่าจะหมายถึง “หมาน้อย” ชาวบ้านจึงลงมือเลี้ยงลูกสุนัขกันทั้งหมู่บ้าน (กาญจนา
นาคนันทน์, 2540: 5) โดยไม่รู้เลยว่าก าลังสนองนโยบายของรัฐที่มุ่งเน้นเรื่อง
เศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง (self-sustainable economy) หรือเศรษฐกิจแบบพอเพียง (self-
sufficient economy) ด้วยการกระตุ้นให้ชาวชนบทน าศาสตร์แห่งแผ่นดินมาใช้เพื่อ
ความอยู่ดีกินดี ดังเห็นได้จากเนื้อร้องท่อนแรกของบทเพลงนี้ว่า
พ.ศ.2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ชาวบ้านต่างมาชุมนุม
มาประชุมที่บ้านผู้ใหญ่ลี ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว
ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา ทางการเขาสั่งมาว่า (ซ ้า)
่
ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร ฝายตาสีหัวคลอนถามว่าสุกรนั้นคืออะไร
ผู้ใหญ่ลีลุกขึ้นตอบทันใด สุกรนั้นไซร้คือหมาน่อยธรรมดา
1
หมาน่อย หมาน่อยธรรมดา
1 “ผู้ใหญ่ลี” เป็นเพลงลูกทุ่งซึ่ง “อิง ชาวอีสาน” หรือ พิพัฒน์ บริบูรณ์ ประพันธ์
ค าร้องและท านองให้ศักดิ์ศรี ศรีอักษร ขับร้อง เนื้อเพลงสะท้อนให้เห็นถึงความบกพร่อง
เรื่องการสื่อสารระหว่างข้าราชการกับชาวบ้านอย่างมีอารมณ์ขัน เพลงนี้ได้รับการบันทึกเสียง
ในปี พ.ศ.2507 โดยได้รับความนิยมอย่างสูง จนมีผู้น าไปดัดแปลงค าร้องเป็นภาคต่ออีก