Page 70 -
P. 70
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วำรสำรมนุษยศำสตร์ ปีที่ 20 ฉบับพิเศษ (2556) 59
ดังกล่าวจ านวน 37 เพลงซึ่งผลิตขึ้นมาในราวช่วงต้นทศวรรษ 2530 ถึง พ.ศ.
2
2554
ผลกำรวิจัย
1. ประเภทของผู้หญิงเขมรถิ่นไทยที่เลือกมีสามีชาวตะวันตก
จากการส ารวจข้อมูลเพลงที่ใช้ในการวิจัย เมื่อเรียงล าดับตามประเภท
ของผู้หญิงเขมรถิ่นไทยที่เลือกมีสามีชาวตะวันตกจากกลุ่มที่พบมากไปหาน้อยได้
ดังนี้ 1) ผู้หญิงที่ต้องการยกระดับสถานะทางสังคม 2) ผู้หญิงที่ครอบครัวมีหนี้สิน
3
3) ผู้หญิงหม้าย 4) ผู้หญิงผิวด า และ 5) ผู้หญิงที่ชีวิตครอบครัวล้มเหลว ต่อไปนี้
เป็นเนื้อเพลงที่กล่าวถึงผู้หญิงเขมรถิ่นไทยแต่ละกลุ่มที่เลือกมีสามีชาวตะวันตก
1.1 ผู้หญิงที่ต้องการยกระดับสถานะทางสังคม
(1) “จ็อฺงๆๆเนียงจ็อฺงบานแปฺด็ยปฺรัง มันบ๊าก์เลียงชฺนังโมด าตึ๊ตฺ
น าบาย ซีแตนมปังอันแย็ยฟุดฟิดฟอฟาย... พอด็อฺลงานช้างเนือ็มปฺรังจิฮ์ต าแร็ย...
น็อฺงจูลกันตฺรึมดังๆเบฺอบานแซนเนียงแซฺร็ย กัน ตฺรึมไพโรจน์ซาวด์ตฺร็อวเจ็ฺ อ๊ด
2
จากข้อมูลทั้งหมดมีเพลงจ านวน 21 เพลงที่ระบุปีที่ผลิตและมี 16 เพลงที่
ไม่สามารถระบุปีที่ผลิตได้ แม้ประเด็นการเลือกมีสามีชาวตะวันตกของผู้หญิงเขมรถิ่น
ไทยจะเริ่มพบมาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 2530 แต่ก็ขาดช่วงไป มาเริ่มพบอีกครั้งหนึ่งใน
พ.ศ.2546 และเริ่มพบต่อเนื่องมาทุกปีตั้งแต่ พ.ศ.2549-2554.
3
จากผลการวิเคราะห์ข้างต้นมีข้อพึงระวังว่าล าดับดังกล่าวเกิดจากการ
วิเคราะห์ข้อมูลที่พบในเพลงเท่านั้น สถิตินี้อาจสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับความ
เป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมเขมรถิ่นไทยก็ได้และผู้หญิงเขมรถิ่นไทยคนหนึ่งที่เลือกมีสามี
ชาวตะวันตกอาจมีเหตุผลของการเลือกอยู่จ านวนหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งเหตุผล โดย
เหตุผลเหล่านั้นอาจอยู่ในหรือนอกรายงานผลการวิเคราะห์ข้างต้นก็เป็นได้ การวิจารณ์
ประเด็นนี้ในบทความเพื่อสื่อถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของข้อมูลเพลงที่ต้องตระหนักและ
พึงระวังในการน าผลการวิจัยนี้ไปใช้.