Page 69 -
P. 69

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


          58       Humanities Journal Vol.20 Special Issue (2013)

                 ชาวเขมรถิ่นไทยมีภาษาพูดของตนเองคือภาษาเขมรถิ่นไทยและมี
          วัฒนธรรมเฉพาะของกลุ่มที่โดดเด่นและแตกต่างจากวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมของ
          คนกลุ่มนี้คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของชาวเขมรในกัมพูชาโดยเฉพาะด้านความ

          เป็นอยู่ ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อ (เรื่องเดียวกัน, หน้า 21)

                 ชาวเขมรถิ่นไทยมีวรรณกรรมทั้งลายลักษณ์และมุขปาฐะ วรรณกรรม
          ลายลักษณ์ส่วนใหญ่บันทึกลงใบลานและสมุดข่อย เก็บรักษาไว้ตามวัดและเรือน

          ของนักปราชญ์ งานกลุ่มนี้จารด้วยอักษรเขมร ภาษาเขมร ส่วนใหญ่เป็นคัมภีร์ทาง
          พระพุทธศาสนาและวรรณกรรมค าสอนซึ่งใช้ร่วมกันกับชาวเขมรในกัมพูชา บุคคล
          ที่ศึกษาคัมภีร์เหล่านี้ในอดีตคือภิกษุสามเณรรวมถึงศิลปินพื้นบ้าน ปัจจุบัน
          วรรณกรรมชุดนี้มีบทบาทไม่มากนักในอีสานตอนใต้เพราะภิกษุและฆราวาสต่าง
          เล่าเรียนในระบบการศึกษาไทยซึ่งต้องใช้ภาษาไทย แต่กระนั้นความรู้ส่วนหนึ่ง

          จากตัวบทเหล่านี้ยังคงสืบทอดในรูปมุขปาฐะและปรากฏอยู่ในวิถีปฏิบัติของคนใน
          ท้องถิ่น โดยเฉพาะในพื้นที่ประเพณีและพิธีกรรม

                 ส่วนวรรณกรรมมุขปาฐะมีนิทาน สุภาษิต บทสู่ขวัญ และเพลง เป็นต้น
          เพลงนับเป็นข้อมูลที่โดดเด่นที่สุดของชาวเขมรถิ่นไทย เพราะมีการสร้างและเสพ
          ในหมู่ชาวเขมรถิ่นไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งยังมีการผลิตเพื่อจ าหน่าย
          อีกด้วย เพลงกลุ่มนี้อาจแบ่งคร่าวๆ ได้เป็นเพลงโบราณและเพลงร่วมสมัย ข้อมูลที่
          น่าสนใจคือเพลงร่วมสมัย เพลงกลุ่มนี้มีเนื้อหาสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ

          สังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่น นักประพันธ์เพลงร่วมสมัยมักเลือกปรากฏการณ์
          ต่างๆ  ที่คนในสังคมก าลังสนใจมาเป็นวัตถุดิบในการแต่งเพลง การแต่งงานข้าม
          เชื้อชาติระหว่างผู้หญิงเขมรถิ่นไทยกับผู้ชายชาวตะวันตกซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่คนใน
          สังคมรับรู้และเป็นประเด็นให้ถกเถียงกันก็ถูกหยิบยกขึ้นมาประพันธ์เป็นเพลงด้วย
          เช่นกัน จากการรวบรวมข้อมูลของผู้วิจัยปรากฏว่ามีเพลงที่เกี่ยวข้องกับประเด็น
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74