Page 27 -
P. 27

โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


                                                           16

               15 ชนิด คือ กิ้งก่าหัวแดง แย้ จิ้งจกดินลายจุด จิ้งจกหินหางเรียว ตุ๊กแกบ้าน จิ้งเหลนน้อยหางยาว จิ้งเหลนหลากลาย
               จิ้งเหลนบ้าน จิ้งเหลนเรียวท้องเหลือง จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ งูปล้องฉนวนบ้าน งูสายม่านเกล็ดใต้ตาใหญ่ งูปลิง งู
               เขียวหางไหม้ท้องเหลือง และงูแสงอาทิตย์
                     แม้จะมีรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่หลากหลาย แต่ก็ยังคงมีความหลากหลายของถิ่นที่อยู่อาศัยย่อยน้อยกว่า
               พื้นที่ธรรมชาติ ผนวกกับการมีกิจกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นเกือบตลอดเวลา และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพนิเวศไปเพื่อ

               การเพาะปลูก ซึ่งอาจท้าให้สัตว์เลื้อยคลานบางชนิดสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย เช่น กิ้งก่าเขียวที่พบเฉพาะในพื้นที่ป่า
               (Chan-ard et al., 2015) กิ้งก่าแก้ว ที่ต้องการสภาพนิเวศที่ค่อนข้างทึบ จึงอาศัยอยู่บริเวณป่าและชายป่าที่มีการปก
               คลุมจากเรือนยอด และจิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ ที่พบเฉพาะพื้นที่ป่าและพื้นที่ชายป่า โดยมักหากินอยู่ใกล้กับแหล่งน้้า
               (Das, 2010) ตุ๊กแกป่าคอขวั้น และตุ๊กแกป่าเพชรบุรี ที่พบอาศัยอยู่บริเวณถ้้าเขาหินปูนในป่าที่มีการบุกรุก และก้าลัง
               ฟื้นฟู และป่าดิบชื้น (Das, 2010; Chan-ard et al., 2015; Grismer et al., 2016) เป็นต้น ผนวกกับการก้าจัด
               สัตว์เลื้อยคลานบางกลุ่มออกไปจากพื้นที่ โดยเฉพาะสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่มงู ซึ่งมีประโยชน์ในการควบคุมประชากรหนู
               ในระบบนิเวศ  แต่ก็มักถูกก้าจัดด้วยทัศนคติที่ไม่ดีและการขาดความรู้ความเข้าใจ และอาจส่งผลต่อประชากรงูในพื้นที่
               ให้มีจ้านวนลดลงและสูญหายไปจากพื้นที่ได้
                     แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพื่อการเกษตรก็ส่งผลดีต่อสัตว์เลื้อยคลาน เช่น แย้ใต้ (Leiolepis

               belliana) ที่มีพฤติกรรมออกจากรูและหากินตามพื้นที่โล่งในเวลากลางวัน ดังนั้นจึงพบแย้ใต้เฉพาะในพื้นที่โล่ง เช่น
               สวนมะพร้าวที่ถูกถางจนโล่งเตียน หรือพื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่ชายป่า ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Aranyavalai
               (2003) ที่ระบุว่าแย้ใต้จะอาศัยอยู่ในพื้นที่โล่ง ซึ่งเหมาะต่อการอาบแดด และสามารถวิ่งหนีผู้ล่าได้ดี ท้าให้พื้นที่ป่าซึ่งมี
               พรรณพืชขึ้นหนาแน่นไม่เหมาะสมต่อการอาศัยของแย้ใต้
                     ส้าหรับงูปลิง (Hypsiscopus plumbea) มักมีถิ่นอาศัยที่สัมพันธ์กับแหล่งน้้า โดยกินปลาและสัตว์สะเทินน้้า
               สะเทินบกเป็นอาหาร จึงพบอาศัยในพื้นที่เกษตรกรรมที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้้าอย่างนาข้าว ซึ่งสอดคล้องกับ Murphy (2007)
               ที่ระบุว่างูปลิงมักมีแหล่งอาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งน้้า หรือตามพื้นที่ชุ่มน้้า และมีพฤติกรรมซุ่มในโคลนเพื่อโจมตีเหยื่อ

                     สภาพนิเวศที่พบสัตว์เลื้อยคลานในบริเวณที่อยู่อาศัยของมนุษย์


                     ส้าหรับบริเวณที่อยู่อาศัยของมนุษย์ที่มีความหลากชนิดของสัตว์เลื้อยคลานน้อยที่สุด โดยพบ ทั้งหมด 7 ชนิด
               คือ กิ้งก่าหัวแดง ตุ๊กแกบ้าน จิ้งจกหางแบนเล็ก จิ้งจกหางหนาม จิ้งเหลนหลากลาย จิ้งเหลนบ้าน และงูเขียวหางไหม้
               ท้องเหลือง อาจเนื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพนิเวศเพื่อให้เหมาะสมต่อการด้ารงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งท้าให้สัตว์เลื้อยคลาน
               บางชนิดสูญเสียแหล่งที่อยู่ (McKinney, 2008) เช่น สัตว์เลื้อยคลานในกลุ่มงูที่มักไม่เข้ามาใช้พื้นที่ในลักษณะนี้
               เนื่องจากมีการปรับให้โล่งเพื่อท้ากิจกรรม การมีสิ่งปลูกสร้างต่างๆ และมีกิจกรรมตลอดทั้งวัน เป็นส่วนหนึ่งที่ท้าให้สัตว์
               ถูกรบกวน แต่ในขณะเดียวกันก็ส่งผลดีต่อสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่มจิ้งจกและตุ๊กแกบางชนิด ได้แก่ จิ้งจกหางแบนเล็ก
               จิ้งจกหางหนาม และตุ๊กแกบ้านที่ปรับตัวให้อาศัยอยู่ในบริเวณชุมชนได้ดีและออกหากินในเวลากลางคืน ซึ่งมนุษย์มี

               กิจกรรมน้อยกว่าในเวลากลางวัน โดยสัตว์ในกลุ่มดังกล่าวได้รับประโยชน์จากหลอดไฟข้างถนนและหลอดไฟตาม
               บ้านเรือนที่ช่วยดึงดูดแมลงเข้ามาท้าให้บริเวณใกล้กับหลอดไฟเป็นแหล่งหาอาหารที่ดีส้าหรับสัตว์เลื้อยคลานในกลุ่มนี้
               ซึ่งสอดคล้องกับ Lauhachinda (2009)
                     การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาสภาพนิเวศที่พบสัตว์เลื้อยคลาน พบว่าสอดคล้องกับ Chuaynkern (2001) ที่
               ศึกษาความหลากชนิดของสัตว์สะเทินน้้าสะเทินบกและเลื้อยคลานที่อุทยานแห่งชาติปางสีดา จังหวัดสระแก้ว ที่พบ
               ความหลากชนิดของสัตว์เลื้อยคลานในพื้นที่ป่ามีมากกว่าพื้นที่ทุ่งหญ้า ซึ่งพื้นที่ธรรมชาติส่วนใหญ่ในการศึกษาครั้งนี้มี
               สภาพเป็นหย่อมไม้ธรรมชาติ โดยเป็นพรรณพืชของป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้งเป็นหลัก แต่เป็นไปในทางตรงข้ามกับ

               Sukprakarn (2003) ที่ศึกษาความหลากชนิดและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์สะเทินน้้าสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานใน
               อุทยานแห่งชาติน้้าตกพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี พบว่าพื้นที่เกษตรกรรมสวนยางพารามีความหลากชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน
               มากกว่าพื้นที่ป่า




               วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 25 พ.ศ. 2561                  Journal of Wildlife in Thailand Vol. 25, 2018
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32