Page 26 -
P. 26
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
15
และพื้นที่เกษตรข้างเคียงกล่าวว่าพื้นที่รอยต่อของสภาพนิเวศ (ecotone) ตั้งแต่สองบริเวณขึ้นไปจะมีความ
หลากหลายสูงขึ้นตามไปด้วย (Baker et al., 2002; Urbina-Cardona et al., 2006)
สภาพนิเวศที่พบสัตว์สะเทินน้้าสะเทินบกที่พบในบริเวณที่อยู่อาศัยของมนุษย์
ส้าหรับสัตว์สะเทินน้้าสะเทินบกที่พบในบริเวณนี้มีทั้งหมด 6 ชนิด คือ คางคกบ้าน กบหนอง อึ่งลายเลอะ อึ่ง
น้้าเต้า อึ่งข้างด้า และอึ่งอ่างบ้าน โดยบริเวณที่อยู่อาศัยของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงสภาพนิเวศเพื่อให้เหมาะสมต่อ
การด้ารงชีวิตของมนุษย์ เช่น การปรับสภาพพื้นที่เพื่อสร้างบ้านเรือน ท้าถนน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆพื้นที่ลักษณะนี้จึง
มีความหลากหลายของที่อยู่อาศัยย่อยที่น้อยกว่าพื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่ธรรมชาติ ซึ่งท้าให้สัตว์สะเทินน้้าสะเทิน
บกบางชนิดสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย เช่น กบป่าไผ่ และปาดจิ๋วข้างขาว ส่งผลให้พบความหลากชนิดของสัตว์สะเทินน้้า
สะเทินบกน้อยที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับ McKinney (2008) ที่กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพนิเวศให้เหมาะสมต่อการ
ด้ารงชีวิตของมนุษย์ ส่งผลให้จ้านวนชนิดของสัตว์สะเทินน้้าสะเทินบกในพื้นที่ลดลง แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพนิเวศให้
เหมาะสมต่อการด้ารงชีวิตของมนุษย์ก็ส่งผลดีต่อสัตว์สะเทินน้้าสะเทินบกบางชนิดด้วย เช่น กบหนอง คางคกบ้าน อึ่ง
ข้างด้า อึ่งน้้าเต้า อึ่งลายเลอะ และอึ่งอ่างบ้าน เป็นต้น โดยได้รับประโยชน์จากหลอดไฟตามบ้านเรือน และหลอดไฟ
ตามข้างถนนที่ช่วยดึงดูดแมลงเข้ามาท้าให้สามารถหาอาหารได้มากขึ้น
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาสภาพนิเวศที่พบสัตว์สะทินน้้าสะเทินบก ดังนั้นจึงได้เปรียบเทียบกับการศึกษา
ของ Phochayavanich et al. (2008) และTaksintum et al. (2010) ซึ่งพบว่าแตกต่างจากการศึกษาของ
Phochayavanich et al. (2008) ที่ท้าการศึกษาเปรียบเทียบความหลากชนิดและความชุกชุมของสัตว์สะเทินน้้า
สะเทินบกระหว่างล้าธารที่ไหลผ่านพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตรกรรม บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย ที่
พบว่ามีความหลากชนิดของกบในพื้นที่เกษตรกรรมมากกว่าพื้นที่ป่า และไม่สอดคล้องกับการศึกษาของ Taksintum
et al. (2010) ที่ศึกษาในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และพื้นที่เกษตรข้างเคียง ซึ่งพบว่าความหลาก
ชนิดของสัตว์สะเทินน้้าสะเทินบกในพื้นที่ป่าสูงกว่าในพื้นที่เกษตรกรรม
สภาพนิเวศที่พบสัตว์เลื้อยคลานที่พบในพื้นที่ธรรมชาติ
พื้นที่ธรรมชาติในการศึกษาครั้งนี้มีสภาพเป็นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และถ้้าเขาหินปูน โดยพบสัตว์เลื้อยคลาน
ทั้งสิ้น 17 ชนิด คือ กิ้งก่าแก้ว กิ้งก่าเขียวในสกุล Bronchocela ตุ๊กแกป่าคอขวั้น ตุ๊กแกป่าเพชรบุรี จิ้งจกดินลายจุด
ตุ๊กแกบ้าน จิ้งจกหางเรียบ จิ้งเหลนหลากลาย จิ้งเหลนบ้าน จิ้งเหลนเรียวท้องเหลือง จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ เหี้ย งู
งอดเขมร งูหมอก งูกินทากจุดขาว งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง โดยพื้นที่ธรรมชาตินั้นมีสภาพรกทึบเหมาะแก่
การซ่อนตัว และมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ หรือมีกิจกรรมของมนุษย์เกิดขึ้นน้อยกว่าพื้นที่อื่นๆ จึงมีความเหมาะสมต่อ
การอยู่อาศัยของสัตว์เลื้อยคลานมากกว่าพื้นที่เกษตรกรรม และบริเวณที่อยู่อาศัยของมนุษย์
สัตว์เลื้อยคลานแต่ละกลุ่มที่พบในการศึกษาครั้งนี้มีการใช้ประโยชน์พื้นที่ในแนวตั้งที่แตกต่างกัน และมีความ
หลากหลายมากกว่าสัตว์สะเทินน้้าสะเทินบก โดยสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มจิ้งเหลนมักใช้ประโยชน์บริเวณพื้นล่างของป่า
โดยเฉพาะที่มีการสะสมของอินทรียวัตถุหน้าดิน สัตว์เลื้อยคลานในกลุ่มกิ้งก่ามักใช้ประโยชน์จากกิ่งไม้ที่ระดับความสูง
ที่หลากหลาย ทั้งเพื่อหากิน อาบแดดในตอนกลางวัน และเกาะนอนในตอนกลางคืน นอกจากนี้ยังพบหากินตามบริเวณ
พื้นล่างของป่าอีกด้วย ขณะที่สัตว์เลื้อยคลานในกลุ่มงูที่พบมีทั้งชนิดที่มักหากินอยู่ตามพื้นดิน เช่น งูกะปะ และชนิดที่
มักหากินอยู่บนต้นไม้ เช่น งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง ด้วยเหตุนี้จึงท้าให้พื้นที่ธรรมชาติ ทั้งป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และถ้้า
เขาหินปูนมีความหลากหลายของที่อยู่อาศัยย่อยมาก และมีความหลากชนิดของสัตว์เลื้อยคลานสูงกว่าพื้นที่
เกษตรกรรม
สภาพนิเวศที่พบสัตว์เลื้อยคลานในพื้นที่เกษตรกรรม
ส้าหรับพื้นที่เกษตรกรรม พบว่ามีรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ค่อนข้างหลากหลาย เช่น ทุ่งนา สวนผลไม้ที่อยู่ติด
กับพื้นที่ชุ่มน้้า หย่อมพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณชายป่า และส่วนผลไม้แบบผสม เป็นต้น โดยพบสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมด
วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 25 พ.ศ. 2561 Journal of Wildlife in Thailand Vol. 25, 2018