Page 25 -
P. 25
โครงการรวบรวมและจัดทําเอกสารวารสารอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
14
หูด้าควรจะพบเฉพาะทางฝั่งตะวันออก ตั้งแต่บริเวณใต้คอคอดกระลงไปจนถึงประเทศมาเลเซีย จากข้อมูลดังกล่าวจึง
เป็นไปได้ว่ากิ้งก่าเขียวในสกุล Bronchocela sp. ที่พบในการศึกษาครั้งนี้จึงมีโอกาสเป็นกิ้งก่าเขียวพม่า
การเลือกใช้พื้นที่อาศัยของสัตว์สะเทินน้้าสะเทินบก ในอ้าเภอบางสะพาน
จากการศึกษาพบว่าสามารถจ้าแนกสภาพนิเวศที่พบในอ้าเภอบางสะพานได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่พื้นที่
ธรรมชาติ (natural area) พื้นที่เกษตรกรรม (agricultural area) และบริเวณที่อยู่อาศัยของมนุษย์ (residential
area) โดยพบสัตว์สะเทินน้้าสะเทินบก (ตารางภาคผนวกที่ 1) ในสภาพนิเวศพื้นที่ธรรมชาติ และพื้นที่เกษตรกรรม
จ้านวน 17 ชนิด เท่ากัน และบริเวณที่อยู่อาศัยของมนุษย์ 7 ชนิด ขณะที่สัตว์เลื้อยคลาน (ตารางภาคผนวกที่ 2) พบ
อาศัยในพื้นที่ธรรมชาติเป็นจ้านวนชนิดมากที่สุด 17 ชนิด รองลงมาเป็นพื้นที่เกษตรกรรม 13 ชนิด และบริเวณที่อยู่
อาศัยของมนุษย์ 7 ชนิด ตามล้าดับ
สภาพนิเวศที่พบสัตว์สะเทินน้้าสะเทินบกในพื้นที่ธรรมชาติ
พื้นที่ธรรมชาติในการศึกษาครั้งนี้มีสภาพเป็นป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง และถ้้าเขาหินปูน โดยพบสัตว์สะเทินน้้า
สะเทินบกทั้งหมด 17 ชนิด คือ คางคกบ้าน กบหนอง กบท่าสาร กบตามธารแดง กบป่าไผ่ เขียดหลังปุ่ม อึ่งกรายลาย
เลอะ อึ่งกรายในสกุล Xenophrys อึ่งเผ้า อึ่งลายเลอะ อึ่งน้้าเต้า อึ่งข้างด้า อึ่งอ่างบ้าน เขียดเขาหลังตอง เขียดจิก
ปาดจิ๋วข้างขาว และปาดบ้าน ส้าหรับสัตว์สะเทินน้้าสะเทินบกที่พบ เป็นชนิดที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่า เช่น กบท่าสาร กบ
ตามธารแดง เขียดเขาหลังตอง เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับ Taksintum (2003) และชนิดที่พบได้ในหลายสภาพนิเวศ
ได้แก่ กบหนอง เขียดหลังปุ่ม คางคกบ้าน ปาดบ้าน อึ่งข้างด้า อึ่งน้้าเต้า อึ่งอ่างบ้าน ซึ่งสอดคล้องกับ Taksintum
(2003) และ Danaisawat (2009)
สภาพนิเวศที่พบสัตว์สะเทินน้้าสะเทินบกในพื้นที่เกษตรกรรม
พื้นที่เกษตรกรรมของอ้าเภอบางสะพาน มีรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ค่อนข้างหลากหลาย เช่น ทุ่งนา สวนผลไม้
ที่อยู่ติดกับพื้นที่ชุ่มน้้า หย่อมพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณชายป่า และส่วนผลไม้แบบผสม เป็นต้น โดยพบสัตว์สะเทินน้้า
สะเทินบกทั้งหมด 17 ชนิด คือ คางคกบ้าน คางคกแคระ กบหนอง กบป่าไผ่ เขียดจะนา เขียดหลังปุ่ม อึ่งเผ้า อึ่งลาย
เลอะ อึ่งน้้าเต้า อึ่งข้างด้า อึ่งขาค้า อึ่งหลังขีด อึ่งอ่างบ้าน กบลายหินตะนาวศรี เขียดจิก ปาดจิ๋วข้างขาว และปาดบ้าน
โดยสวนยางพาราพื้นที่ส่วนใหญ่มีเรือนยอดปกคลุมค่อนข้างมาก พื้นดินส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยวัชพืชสูงประมาณ 10-15
เซนติเมตร ขณะที่สวนผลไม้แบบผสมมีอัตราการปกคลุมจากเรือนยอดที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดพรรณพืชที่ปลูก
และมักมีการถางบริเวณพื้นล่างให้โล่งเตียน ส้าหรับสวนมะพร้าวมีเรือนยอดปกคุลมพื้นดินน้อย และมักปลูกสับปะรดที่
บริเวณพื้นล่าง ของสวน ส่วนนาข้าวที่เป็นพื้นที่เปิดโล่งมีเพียงต้นข้าวขึ้นปกคลุมเท่านั้น แต่มีน้้าขังอยู่เกือบตลอดทั้งปี
เนื่องจากเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ดังนั้นพื้นที่เกษตรกรรมจึงมีแหล่งอาศัยย่อย (microhabitat) ที่หลากหลาย และมีชนิดของ
สัตว์สะเทินน้้าสะเทินบกที่เข้ามาใช้ประโยชน์เท่ากับพื้นที่ธรรมชาติ แต่มากกว่าบริเวณที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ซึ่ง
สอดคล้องกับการศึกษาของ Atauri & Lucio (2001) ที่พบว่าความหลากชนิดของ สัตว์สะเทินน้้าสะเทินบกสัมพันธ์กับ
การมีรูปแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่ที่หลากหลาย โดย Tews et al. (2004) กล่าวว่าแหล่งอาศัยที่หลากหลายจะพบ
ความหลากหลายของชนิดพรรณสัตว์ที่เข้ามาใช้ พื้นที่มากขึ้นตามไปด้วย
ส้าหรับพื้นที่เกษตรกรรมทางฝั่งตะวันตกของอ้าเภอบางสะพานมีอาณาเขตติดต่อกับป่าดิบชื้น ที่เป็นส่วนหนึ่ง
ของเทือกเขาตะนาวศรี โดยพื้นที่เกษตรกรรมบางแห่งอยู่ใกล้กับพื้นที่ธรรมชาติ และมีสภาพนิเวศใกล้เคียงกับพื้นที่
ธรรมชาติ มีล้าห้วยที่ไหลต่อเนื่องจากพื้นที่ป่าไหลผ่าน อีกทั้งยังมีพรรณไม้ป่าดิบชื้นขึ้นปะปนจึงเป็นลักษณะหย่อม
พื้นที่เกษตรกรรมปะปนในพื้นที่ธรรมชาติ ท้าให้สัตว์สะเทินน้้าสะเทินบกบางชนิด เช่น กบลายหินตะนาวศรี และ
คางคกแคระ เป็นต้น ซึ่งปกติพบกระจายอยู่ในพื้นที่ป่าสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรมได้ ซึ่งสอดคล้อง
กับการศึกษาของ Taksintum et al. (2010) ที่ท้าการศึกษาในพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 25 พ.ศ. 2561 Journal of Wildlife in Thailand Vol. 25, 2018