Page 21 -
P. 21
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สาระน่ารู้เรื่องหญ้าแฝก
น�ามาใช้เรียกแทนค�าว่า “พันธุ์” หรือ “ชนิด” หรือแม้กระทั่ง “สกุล” ในกรณีของหญ้าแฝก ยังไม่มีผู้ใด
ศึกษาละเอียดถึง “สายพันธุ์” ดังนั้น จึงไม่ควรน�าค�านี้มาใช้กับหญ้าแฝก อย่างไรก็ดี มีบางคนน�าค�านี้ไป
ใช้แทนค�าว่า “แหล่งพันธุ์” ของหญ้าแฝก ซึ่งก็ไม่ถูกต้อง เพราะ“สายพันธุ์” เป็นความผันแปรของลักษณะ
ภายนอก หรือทางสรีรวิทยาของแต่ละสายพันธุ์ ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น รูปร่างแปลกออกไป หรือออกผล
นอกฤดู ในขณะที่ “แหล่งพันธุ์” นั้น อาจไม่แตกต่างกันในลักษณะภายนอก หรือทางสรีรวิทยาเลยก็ได้
เพียงแต่เจริญเติบโตคนละสถานที่ หรือแหล่ง แต่ก็อาจมีลักษณะแตกต่างกันก็ได้
แหล่งพันธุ์ (ecotype) เป็นชื่อของพืชที่ตั้งตามแหล่งหรือสถานที่ที่เก็บรวบรวมตัวอย่างของ
พืชนั้น ๆ โดยที่อาจมีลักษณะภายนอกที่ต่างไปจากตัวอย่างอื่น หรือเหมือนกันก็ได้ ดังเช่นในกรณีของ
หญ้าแฝก ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้เก็บรวบรวมได้ถึง 28 แหล่งพันธุ์ เช่น แหล่งพันธุ์ นครสวรรค์
ก�าแพงเพชร นครพนม สุราษฎร์ธานี ราชบุรี อุทัยธานี อุดรธานี เชียงราย สงขลา ฯลฯ โดยปกติใช้ชื่อ
จังหวัดเป็นชื่อแหล่งพันธุ์ แต่บางครั้งก็ใช้ชื่ออ�าเภอ หรือชื่ออื่น ๆ เช่น ห้วยขาแข้ง แม่ลาน้อยฯลฯ ใน
กรณีที่มีการเก็บรวบรวมแหล่งพันธุ์จากจังหวัดเดียวกันหลาย ๆ ตัวอย่าง ก็ใช้เลขที่เรียงล�าดับไป ตั้งแต่
1, 2, ... เช่น ก�าแพงเพชร 1 ก�าแพงเพชร 2 สงขลา 1 สงขลา 2 สงขลา 3 หากพิสูจน์ได้ว่าแหล่งพันธุ์ใด
มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างไปจากแหล่งพันธุ์ หรือพันธุ์ปลูกอื่น ๆ ก็เลื่อนล�าดับขึ้นไปเป็นพันธุ์ปลูกได้
ส�าหรับหญ้าแฝกในประเทศไทยที่พบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
หญ้าแฝกหอม และหญ้าแฝกดอน ส�าหรับหญ้าแฝกที่เก็บรวบรวมจากท้องที่ต่าง ๆ โดยยังไม่ได้มีการ
ศึกษาเปรียบเทียบถึงความแตกต่างในลักษณะประจ�าพันธุ์ ให้เรียกว่า “แหล่งพันธุ์” ส�าหรับตัวอย่าง
ที่น�าเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ปลูกที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาแล้ว และมีชื่อพันธุ์
12