Page 19 -
P. 19
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สาระน่ารู้เรื่องหญ้าแฝก
ตรงชื่อสกุล และชื่อชนิด ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏครั้งแรก ต้องเขียนด้วยตัวเต็ม เช่น หญ้าแฝกลุ่ม
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chrysopogon zizanioides ในการเขียนครั้งต่อ ๆ ไป อาจย่อชื่อสกุล เป็น C. ก็ได้
ส่วนชื่อผู้ตั้งชื่อพฤกษศาสตร์ อาจไม่ใส่ก็ได้ ถ้าไม่ใช่บทความทางอนุกรมวิธานหรือเป็นบทความวิชาการ
หากต้องการเขียนชื่อพฤกษศาสตร์ของพืช 2 ชนิด หรือมากกว่าที่อยู่ในสกุลเดียวกัน ควรย่อชื่อสกุล
ของชนิดที่ 2 และชนิดต่อ ๆ ไปได้ เช่น หญ้าแฝกลุ่ม (Chrysopogon zizanioides), หญ้าแฝกดอน
(C. nemoralis), หญ้าแฝกแอฟริกา (C. nigritana) ในการกล่าวถึงพืชในสกุลเดียวกันหลาย ๆ ชนิด
อาจจะใช้ชื่อสกุล ตามด้วยค�าว่า spp. ซึ่งเป็นตัวย่อที่เป็นพหูพจน์ของค�าว่า species เช่น Chrysopogon
spp. ซึ่งหมายถึงพืชในสกุลหญ้าแฝกหลายชนิด ค�าว่า “species” นี้ แม้จะมีรูปเป็นพหูพจน์ แต่ใช้ได้
ทั้งส�าหรับพืชชนิดเดียวหรือหลายชนิด ในบางครั้ง เราไม่ทราบชนิดของพืช เพียงแต่ทราบว่า เป็นพืชที่
จัดอยู่ในสกุลใด ก็ใส่ค�าว่า sp. ต่อท้ายชื่อสกุล เช่น Chrysopogon sp. หมายถึง พืชในสกุลหญ้าแฝก
ชนิดหนึ่งที่ยังไม่ทราบชนิด
ชื่อพื้นเมือง (local หรือ vernacular name) หมายถึงชื่อที่ใช้เรียก พืชเฉพาะใน
ถิ่นใดถิ่นหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง พืชในถิ่นต่าง ๆ ทั่วโลก จึงมีชื่อพื้นเมืองหลายชื่อใน
ท้องถิ่นต่าง ๆ กัน เช่น หญ้าแฝกลุ่ม มีชื่อพื้นเมืองในภาษาต่าง ๆ อาทิ กานา Kurikarili, เบงกอล Khus
Khus, ปัญจาบ Panni, จีนกลาง Xiang Gen Cao, อินโดนีเซีย Agar Wangi, ตากาล็อก Moras,
ทมิฬ Vetiver, มาเลเซีย Nara Wastu แม้กระทั่งในประเทศเดียวกัน ชื่อพื้นเมืองของพืชก็อาจแตกต่างกัน
ในแต่ละท้องถิ่นเช่น “หญ้าแฝกหอม” มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันในประเทศไทย เช่น หญ้าแฝกลุ่ม
ในภาคกลางและนครราชสีมา; หญ้าแฝก หญ้าคมแฝก แฝกหอม ในภาคกลาง; แกงหอม แขมหอม
ในภาคอีสาน; แฝกกอตะไคร้ แซงหม่อง ในจังหวัดก�าแพงเพชร; แฝกส้ม แฝกถ�้า ในจังหวัดนครพนม; ฯลฯ
10