Page 18 -
P. 18
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ได้มีการศึกษาหญ้าในสกุล Chrysopogon (Vetiver grass)
ในประเทศไทยอย่างเป็นระบบทางอนุกรมวิธาน ผลการศึกษาปรากฏว่า
หญ้าแฝกที่พบในประเทศไทยจ�าแนกออกได้เป็น 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่
หญ้าแฝกหอม (Chrysopogon zizanioides) และหญ้าแฝกดอน
(Chrysopogon nemoralis) ในธรรมชาติพบว่าหญ้าแฝกทั้งสองชนิดมีการ
กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไป สามารถขึ้นได้ดีในสภาพพื้นที่ทั้งที่ลุ่มและที่ดอนในดิน
สภาพต่าง ๆ จากความสูงใกล้ระดับน�้าทะเล จนถึงระดับประมาณ 800 เมตร
การเรียกชื่อพืชหญ้าแฝก
เป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่ของทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีชื่อเรียก ท�านอง
เดียวกัน สิ่งที่มีชีวิตทุกสิ่ง ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือมนุษย์ ต่างก็มีชื่อประจ�า
ส�าหรับไว้เรียกขาน โดยทั่วไป เราแบ่งชื่อของสิ่งมีชีวิตออกเป็น 3 ประเภท คือ
ชื่อสามัญ (common name) ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientififfiic name) และชื่อ
พื้นเมือง (local หรือ vernacular name)
ชื่อสำมัญ (common name) หมายถึงชื่อภาษาอังกฤษของพืช
ชนิดต่าง ๆ เช่น vetiver หมายถึงหญ้าแฝก banana หมายถึงกล้วย rice
หมายถึงข้าว เป็นต้น
ชื่อวิทยำศำสตร์ (scientiffiific
name) คือชื่อภาษาละตินที่ก�าหนดให้
ส�าหรับการจัดจ�าแนกพืชทุกล�าดับชั้น เช่น
ชื่อสกุล (genus) หมายถึงชื่อวิทยาศาสตร์
ที่ก�าหนดให้กับหมวดหมู่ในล�าดับชั้นสกุล
เป็นภาษาละตินและเป็นค�าค�าเดียว หรือ
ชื่อชนิด (species) คือ ชื่อวิทยาศาสตร์ที่
ก�าหนดให้กับพืชแต่ละตัว ประกอบด้วยค�า
2 ค�า ที่เรียกว่า “ระบบทวินาม” (Binomial
nomenclature) ค�าแรกคือชื่อสกุล เขียน
ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ ค�าที่สองคือชื่อชนิด (speciffiific epithet) มักเป็น
ค�าคุณศัพท์แสดงลักษณะหรือขยายค�าแรก เขียนด้วยอักษรตัวเล็กทั้งหมด
ชื่อวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์ต้องมีส่วนที่สามอยู่ด้วยคือชื่อบุคคลผู้ตั้งชื่อ
พืชชนิดนั้น
ในการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชตามกฎของการก�าหนดชื่อ
วิทยาศาสตร์เสนอแนะว่าให้ขีดเส้นใต้หรือพิมพ์ตัวเอน หรือตัวหนาเฉพาะ
n พันธุ์หญ้าแฝก 9