Page 3 -
P. 3

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                   รหัสโครงการ : RDG5920034

                   ชื่อโครงการ : การเชาที่ดินของครัวเรือนเกษตรในประเทศไทยและผลกระทบตอสวัสดิการทางเศรษฐกิจของ

                   ครัวเรือน

                   ชื่อนักวิจัย :  ดร.อุชุก ดวงบุตรศรี


                   หนวยงาน :  ภาควิชาเศรษฐศาสตรเกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

                   อีเมล : uchook@gmail.com


                   ระยะเวลาโครงการ  :  เริ่มตน 1 กุมภาพันธ 2559 สิ้นสุด 31 มกราคม 2560 รวมเวลาทั้งสิ้น 12 เดือน
                   และไดขอขยายเวลาออกไปจนถึง 31 พฤษภาคม 2560


                                                          บทคัดยอ

                          ผลการศึกษานี้สอดคลองกับงานวิจัยเรื่องบทบาทของตลาดเชาที่ดินตอการพัฒนาเศรษฐกิจ

                   ครัวเรือนเกษตรในหลายๆ ประเทศ โดยพบวา ตลาดเชาที่ดินชวยลดความเหลื่อมล้ําในการถือครองที่ดิน
                   และชวยยกระดับรายไดครัวเรือนจากภาคเกษตรอยางชัดเจน ครัวเรือนที่มีที่ดินในการถือครองเปนเจาของ

                   มากจะปลอยเชาที่ดินใหครัวเรือนที่ขาดแคลนที่ดินทํากิน ดังจะเห็นไดวา ครัวเรือนผูเชามีที่ดินที่ตนเอง

                   เปนเจาของเพียง 14.46 ไร แตมีการเชาที่ดินมากถึง 28.67 ไรตอครัวเรือน เชนเดียวกัน ครัวเรือนผูปลอย
                   เชาเปนเจาของที่ดินมากถึง 50.74 ไร และมีการปลอยเชาราว 20 ไร ผลการศึกษาจากแบบจําลองเศรษฐ

                   มิติชี้วาปจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลตอการตัดสินใจเชาที่ดิน ไดแก  ความสามารถในการผลิต จํานวนสมาชิกใน

                   ครัวเรือน อายุหัวหนาครัวเรือน และรายไดจากการเกษตรปกอน การขยายขนาดที่ดินเชาเพิ่มขึ้น 1 ไร จะ
                   เพิ่มรายไดสุทธิจากการเกษตรราว 1,161 บาท หรือเทากับวารายไดสุทธิจากการเกษตรของครัวเรือนผูเชา

                   สูงกวาครัวเรือนที่ไมไดเชาที่ดินราว 18,292 บาท มูลคาทรัพยสินทางการเกษตรแทบไมชวยเพิ่มรายได

                   สุทธิจากการเกษตรเลยเนื่องจากทรัพยสินสวนมากเปนเครื่องจักรขนาดเล็ก จํานวนสมาชิกในครัวเรือนไม
                   สงผลตอรายไดสุทธิจากการเกษตรแตมีบทบาทอยางมากตอการเพิ่มรายไดสุทธินอกภาคเกษตร รัฐควรให

                   ความสําคัญกับตลาดเชาที่ดินมากขึ้นในฐานะกลไกที่ชวยแกปญหาความยากจนและปญหาการไรที่ดินทํา

                   กิน ซึ่งมีประสิทธิภาพและยั่งยืนกวาหลายๆ มาตรการที่นิยมใช การพัฒนาธนาคารที่ดินและเทคโนโลยี
                   ดานขอมูลและการสื่อสารเพื่อลดตนทุนทางธุรกรรมในตลาดเชาที่ดินจะชวยเพิ่มประสิทธิภาพของตลาด

                   เชาที่ดิน

                   คําหลัก : ตลาดเชาที่ดิน ประสิทธิภาพการผลิต รายไดสุทธิภาคเกษตร Townsend Thai Project
   1   2   3   4   5   6   7   8