Page 17 -
P. 17
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แนวทางพัฒนาสมรรถนะของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้าโดยการจัดองค์กรชุมชน
การรวมกลุ่มจัดองค์กรชุมชนของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น ้าทั้งสามแบบมีความเหมาะสมแตกต่างกันไปใน
แต่ละกรณี การจัดองค์กรชุมชนที่ท าได้สะดวก และเริ่มด าเนินการได้ไม่ยาก คือ การรวมกลุ่มในรูปแบบธรรมชาติซึ่ง
ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ปัจจัยส าคัญคือจะต้องมีผู้น ากลุ่มที่มีความสามารถ และเป็นที่เชื่อถือของสมาชิก ดังที่
พบในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง จังหวัดฉะเชิงเทรา และ ในกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์น ้าต าบลท่าซุง อนึ่งสมาชิกควรมี
บรรทัดฐานที่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้ร่วมมือกันท างานได้สะดวก ในระยะเริ่มต้นควรให้ความส าคัญแก่การพัฒนาการผลิต
มีการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ลดปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้า และ รวมกันซื้อปัจจัยการ
ผลิตเพื่อให้มีอ านาจการต่อรองที่ดีขึ้น และหากมีตลาดและมีกลุ่มผู้มีความสามารถทางการค้าควรมีการรวบรวมผลผลิต
ของกลุ่มดังที่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง จังหวัดฉะเชิงเทราด าเนินการ ทั้งนี้การรวมกลุ่มหลายๆกลุ่มเข้าเป็น
เครือข่ายเช่นที่ท ากันอยู่ที่ฉะเชิงเทราช่วยให้กลุ่มสามารถด าเนินงานได้หลากหลาย ให้บริการแก่สมาชิกมากขึ้น
เนื่องจากการรวมกลุ่มที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล มีข้อจ ากัดในการขอรับความสนับสนุนทางการเงินจาก
หน่วยงานของรัฐ กลุ่มธรรมชาติเช่นนี้ ควรมีกิจกรรมการออมทรัพย์ ซึ่งสามารถท าได้ในช่วงที่สมาชิกมีผลผลิตใน
ปริมาณมาก ขายได้ในราคาที่เป็นธรรม สามารถมีก าไรจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้า ดังที่กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์น ้าต าบลท่าซุงได้
ท า โดยกลุ่มร่วมกันก าหนดระเบียบการออมและการเบิกจ่ายให้ชัดเจน ทั้งควรมองหาช่องทางการขอรับความสนับสนุน
จากหน่วยงานเอกชนที่ให้ความสนับสนุนเกษตรกรรายย่อย ดังที่กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์น ้าต าบลท่าซุงได้รับจาก SIF ปัจจุบัน
ยังมีผู้ประกอบธุรกิจที่มีโครงการรับผิดชอบต่อสังคม (Cooperate Social Responsibility, CSR) ที่ให้ความสนับสนุนแก่
เกษตรกรรายเล็ก เช่น เครือสยามซีเมนต์ (Siam Cement Group, SCG) และ บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
จ ากัด ที่ท าโครงการโลกสีเขียว กองทุนรวมคนไทยใจดี ที่ธนาคารกรุงเทพด าเนินงานให้ความสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม
สังคม ธรรมาภิบาล และ การต่อต้านคอรัปชั่น ตลอดจนมูลนิธิโลกสีเขียวซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ให้ความส าคัญแก่
สิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีทุนสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนที่ไม่ได้เป็นนิติบุคคล เงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร ดังที่กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง ได้รับเงินกู้ยืมนี้เพื่อการลงทุนเลี้ยงปลา ตลอดจนติดต่อขอความ
สนับสนุนด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น ้าและการบริหารจัดการกลุ่มจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเห็นว่า
จะสามารถท างานร่วมกับกลุ่มเกษตรกรได้ดีกว่ากับเกษตรกรเดี่ยวเป็นรายๆไป ด้วยความจ ากัดของก าลังเจ้าหน้าที่ที่มี
อยู่
เมื่อรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มธรรมชาติได้เข้มแข็ง สามารถหาช่องทางจดทะเบียนเป็นกลุ่มนิติบุคคลได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่
กับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่และความสมัครใจของกลุ่ม ในพื้นที่ที่หน่วยงานภาครัฐสนใจให้ความสนับสนุน ควร
ส่งเสริมให้ค าแนะน าในการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ให้ข้อมูลผลประโยชน์และเงื่อนไขการด าเนินการให้กลุ่มเกษตรกร
ได้ทราบประกอบการตัดสินใจ การเป็นนิติบุคคลช่วยให้กลุ่มสามารถเข้าถึงแหล่งทุนสนับสนุนได้มากขึ้น โดยเฉพาะ
จากหน่วยงานภาครัฐ แต่กลุ่มจะต้องมีการบริหารจัดการและการท ารายงานที่ชัดเจนโดยเฉพาะรายงานการเงิน
เจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะจากส านักงานสหกรณ์จังหวัดควรให้ความช่วยเหลือในส่วนนี้ กลุ่มเครือข่ายผู้เลี้ยงปลากะพง
จังหวัดฉะเชิงเทรา ยังเห็นว่าการเป็นกลุ่มธรรมชาติที่ท าอยู่จะท างานได้คล่องตัวกว่าที่จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ส่วน
กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์น ้าต าบลท่าซุงก็พอใจกับการเป็นกลุ่มเกษตรกรนิติบุคคลที่ท าอยู่ ไม่ต้องการจดทะเบียนเป็นสหกรณ์
ซึ่งอาจเป็นเพราะเกินก าลังที่มีอยู่ อนึ่งกลุ่มมีความมุ่งมั่นที่จะท างานในแนวทางที่ท ามาให้ได้ผลดีและมีความภูมิใจกับ
สถานะที่เป็นอยู่ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นกลุ่มเกษตรกรตัวอย่าง
สหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์น ้าหกแห่งที่ศึกษา มีเพียงสหกรณ์ประมงพาน จ ากัด ที่พัฒนามาจากความร่วมมือของผู้
เลี้ยงปลานิลในพื้นที่อ าเภอพานเป็นส าคัญ นอกนั้นมีบางสหกรณ์ที่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นชมรมมาก่อน และเคยร่วมงาน
กับชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งฯ รวมทั้งสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงและแปรรูปสัตว์น ้านครนายก จ ากัด ที่พัฒนามาจากการท า
xvii