Page 7 -
P. 7
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พืชเศรษฐกิจที่ ค่าเฉลี่ยความ ช่วง ค่าเฉลี่ยความ ช่วง
ส้าคัญ ต้องการใช้น้้า (ลบ.ม./ไร่) ต้องการใช้น้้า (ลบ.ม./ตันผลผลิต)
(ลบ.ม./ไร่) (ลบ.ม./ตันผลผลิต)
ถั่วเหลือง 500 451 – 549 1,755 1,581 – 2,011
ถั่วเขียว 275 229 – 367 2,588 2,045 – 3,989
มะพร้าว 2,170 2,096 – 2,227 2,366 2,074 – 2,666
สัปปะรด 2,170 2,099 - 2,227 682 611 - 783
ถั่วลิสง 509 460 - 556 2,121 1,742 – 2,780
หมายเหตุ: *ค่าเฉลี่ยความต้องการใช้น้้าต่อตันผลผลิตปาล์มน้้ามัน 1,105 ลบ.ม./ตันค้านวณมาจากค่าเฉลี่ยไม่นับ
รวมภาคตะวันภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือที่เพิ่งเริ่มปลูกปาล์มน้้ามันในระยะแรกซึ่งยังไม่มีการให้ผล
ผลิตหรือมีผลผลิตที่ต่้าอยู่ ขณะที่อีกค่าหนึ่งคือ 2,195 ลบ.ม./ตัน เป็นค่าเฉลี่ยนับรวมทุกภาค
2.2 ความต้องการใช้น้้า Blue water ของพืชอาหาร อาหารสัตว์ และพลังงานที่ส้าคัญของ
ประเทศไทย
ตารางที่ 3 แสดงผลเปรียบเทียบความต้องการใช้น้้า Blue water หรือ ความต้องการใช้น้้า
ชลประทานส้าหรับการปลูกพืชแต่ละชนิด ซึ่งจัดเป็นประเด็นที่ส้าคัญในมุมมองของอุทกวิทยา และ
เป็นข้อมูลที่จ้าเป็นส้าหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้้าโดยเฉพาะช่วงหน้าแล้ง โดยผลการประเมิน
ชี้ให้เห็นถึงความต้องการใช้น้้าชลประทานต่อตันผลิตภัณฑ์ของพืชแต่ละชนิด ซึ่งมีความแตกต่างกัน
ไปในแต่ละพื้นที่เพาะปลูก โดยพบว่า การปลูกพืชเศรษฐกิจในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ข้าวนา
ปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และอ้อย มีค่าความต้องการใช้น้้าชลประทานค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับภาค
อื่นๆ ซึ่งหมายถึงว่า เมื่อเทียบกับปริมาณน้้าฝนใช้การที่มีอยู่ปัจจุบันยังไม่พอเพียงกับความต้องการ
ใช้น้้าของพืชในทางทฤษฎี จึงมีความจ้าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขยายพื้นที่ชลประทานในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้น้้าของพืช รวมถึงเพื่อให้เกิดการพัฒนา
ประสิทธิภาพด้านการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายพื้นที่เพาะปลูกพืชพลังงาน เช่น ปาล์ม
น้้ามันซึ่งมีความต้องการใช้น้้าสูง การขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้้ามันไปในภาคอื่นๆ เช่น ภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงมีความจ้าเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมด้านปริมาณน้้าฝน
และระบบชลประทาน เพราะความต้องการน้้าชลประทานที่สูงย่อมน้าไปสู่ต้นทุนการเพาะปลูกพืชที่
สูงขึ้นด้วย แต่อย่างไรก็ตามค่าปริมาณการใช้น้้าจริงๆ ของพืชหลายชนิด เช่น อ้อย และมันส้าปะหลัง
จะมีค่าต่้ากว่าค่าความต้องการใช้น้้าชลประทานที่แสดงในตารางที่ 3 เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการปลูก
ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน
๓