Page 6 -
P. 6
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อุตสาหกรรมมันสำ�ปะหลังในประเทศไทย
มันสำาปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำาคัญอย่างมากต่อประเทศไทย ประเทศไทยมีปริมาณการผลิตมาก
เป็นอันดับ 2 - 4 ของโลก มีเนื้อที่เก็บเกี่ยวมันสำาปะหลังประมาณ 8.96 ล้านไร่ และสามารถผลิตมันสำาปะหลังได้
ถึง 33.61 ล้านตันต่อปี ซึ่งพื้นที่เพาะปลูกมันสำาปะหลังส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (51.27%) รองลงมา
ได้แก่ ภาคกลาง (26.02%) และภาคเหนือ (22.71%) ผลผลิตมันสำาปะหลังที่มีการสำารวจข้อมูลนี้เป็นมันสำาปะหลังโรงงาน
หรือมันพันธุ์ขมทั้งสิ้น โดยผลผลิตจะถูกนำาไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มันสำาปะหลัง 3 ประเภทหลัก ได้แก่ มันเส้น
และมันอัดเม็ด (36%) แป้งมันสำาปะหลัง (60%) และเอทานอล (4%) โดยมันเส้นและมันอัดเม็ดจะใช้ภายในประเทศ
ประมาณ 18% (หรือ 6.5% ของผลผลิตทั้งหมด) ส่วนที่เหลือจะถูกส่งออก (82% ของผลิตภัณฑ์ หรือ 29.5% ของผลผลิต)
สำาหรับแป้งมันสำาปะหลังที่ผลิตขึ้นจะใช้บริโภคในประเทศ 33% (หรือ 19.8% ของผลผลิต) ส่วนที่เหลือ (67% ของผลิตภัณฑ์
หรือ 40.2% ของผลผลิต) ถูกส่งออกไปขายยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
(กระทรวงพาณิชย์, 2558; สมาคมการค้ามันสำาปะหลังไทย, 2559)
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยมีการใช้ผลิตภัณฑ์มันสำาปะหลังภายในประเทศในสัดส่วนที่น้อยมาก
ทำาให้ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำาปะหลังสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก ในปี 2558 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์
มีค่าประมาณ 117,566.29 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวเท่ากับ 2.55% จากปี 2557 มันสำาปะหลัง แต่ในปี 2559
มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์มีค่าลดลงจากปี 2558 โดยในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2559 มูลค่าการส่งออก
ผลิตภัณฑ์เท่ากับ 93,740.26 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2558 ถึง 13% เนื่องจากราคาสินค้าเกษตร
จำานวนมาก ปรับตัวลดลง อุปทานเกินความต้องการตลาด ประเทศส่วนใหญ่นำาเข้าผลิตภัณฑ์มันสำาปะหลังจากไทยลดลง
โดยเฉพาะจีน ซึ่งเป็นคู่ค้าสำาคัญของไทยมีมูลค่านำาเข้าผลิตภัณฑ์มันสำาปะหลังจากไทยลดลงถึง 19%
(กระทรวงพาณิชย์, 2559)
บริโภคในประเทศ
มันเส้นและมันอัดเม็ด
36% 6.5%
ส่งออก
ผลผลิต
33.61�ล้านตัน 29.5%
แป้งมันสำ�ปะหลัง บริโภคในประเทศ
60%
19.8%
ส่งออก
40.2%
เอทานอล
4%
บริโภคในประเทศ
4%
มันสำ�ปะหลังไทยกินได้�สร้างรายได้ให้เกษตรกร 5
โครงการแปรรูปมันสำาปะหลังและผลิตภัณฑ์สู่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรชุมชน