Page 2 -
P. 2

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                                                          คำ�นำ�






                     ภายใต้ระบบการผลิตและการค้าสินค้ามันสำาปะหลังและผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย เกษตรกรจะปลูกมันสำาปะหลัง
             เพื่อป้อนผลผลิตหัวมันสดเข้าสู่กระบวนการแปรรูปในอุตสาหกรรมแป้งมันและมันเส้นทั้งภายในประเทศและส่งออก

             โดยผู้ประกอบการและพ่อค้าคนกลางทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นผู้กำาหนดราคา
                     เหตุผลหลักที่ทำาให้เกษตรกรไม่สามารถกำาหนดราคามันสำาปะหลังได้  คือ  มันสำาปะหลังและผลิตภัณฑ์ในประเทศ
             ถูกผลิต รวบรวม และแปรรูปเพื่อการบริโภคในประเทศเพียงร้อยละ 30 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 70 ถูกส่งออกไปยังตลาด
             ต่างประเทศ  ทำาให้ตลาดต่างประเทศเป็นตัวกำาหนดราคามันสำาปะหลังในประเทศ  ส่งผลให้เกษตรกรซึ่งอยู่ปลายขบวน

             ของห่วงโซ่อุปทานได้รับประโยชน์น้อยสุดจากส่วนแบ่งการตลาด  และอีกเหตุผลหนึ่งคือปัญหาในแต่ละปีผลผลิตออกสู่ตลาด
             กระจุกตัวเกษตรกรขายผลผลิตได้ในราคาต่ำากว่าต้นทุนการผลิต อยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 1.80 บาท
                     สืบเนื่องจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนเพื่อเป็นพลัง
             สำาคัญในการเร่งรัดการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน  ภายใต้ยุทธศาสตร์  “ประชารัฐ”  ที่มีการบูรณาการ

             งานของภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรและชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำาในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง กระทรวงพาณิชย์
             จึงริเริ่ม  โครงการแปรรูปมันสำาปะหลังและผลิตภัณฑ์สู่อุตสาหกรรมอาหารเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรชุมชน
             ประจำาปีงบประมาณ  2559  เป็นความร่วมมือของกระทรวงพาณิชย์  โดยกรมการค้าภายใน  ภาคเอกชน  หอการค้า
             สมาคมฯ  สถาบันมันสำาปะหลัง  สถาบันการศึกษา  โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้ชุมชนและกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะปลูก

             มันสำาปะหลังเพาะปลูกและแปรรูปมันสำาปะหลังเพื่อป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหาร โดยเกษตรกรสามารถผลิตและแปรรูปเอง
             ได้โดยตรง ไม่ต้องพึ่งพาการแปรรูปจากภาคอุตสาหกรรมเหมือนดังเช่นปัจจุบัน ส่งผลให้เกษตรกรสามารถกำาหนดราคาขายได้
             ด้วยตนเองและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและชุมชน
                     ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรมีสัดส่วนรายได้ที่เพิ่มขึ้นในห่วงโซ่อุปทานของมันสำาปะหลังและผลิตภัณฑ์  จึงมีความจำาเป็น

             ที่จะต้องเพิ่มทางเลือกการใช้มันสำาปะหลังและผลิตภัณฑ์ ที่มีความหลากหลายมากกว่าในภาคอุตสาหกรรมเท่านั้น
             โดยในปัจจุบันการใช้มันสำาปะหลังและผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการบริโภค  มีสัดส่วนที่น้อยมาก
             ทั้ง ๆ ที่มันสำาปะหลัง มีราคาถูกและมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและที่สำาคัญเกษตรกรสามารถผลิตและแปรรูป
             เพื่อเพิ่มมูลค่าได้เองโดยตรง

                     เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างทางเลือกให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำาปะหลัง กรมการค้าภายใน จึงได้มอบหมาย
             ให้คณะอุตสาหกรรมเกษตรและสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  วิทยาเขตบางเขน
             ทำาการวิจัย  และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทำาจากมันสำาปะหลัง  และคิดค้นวิธีที่จะลดพิษในหัวมันซึ่งสามารถที่จะทำาได้หลายวิธี
             โดยเน้นวิธีการที่เกษตรกรสามารถที่จะทำาเองได้  และจากการค้นคว้าวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญทั้งทางด้านผลิตภัณฑ์อาหาร

             และบรรจุภัณฑ์ จึงออกมาเป็น 4 ผลิตภัณฑ์  3 รสชาติ ได้แก่ มินิวาฟเฟิล  ไอศกรีมมันสำาปะหลัง  มันสำาปะหลังกรอบ และ
             มันสำาปะหลังบอล ซึ่งผลิตภัณฑ์ ทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกคิดค้นและวิจัยขึ้นมา เพื่อให้เกษตรกรสามารถที่จะนำา
             ไปต่อยอดและพัฒนาทำาเป็นผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนเพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและกระจายรายได้สู่ชุมชนได้
             อย่างยั่งยืน  พร้อมกับการขับเคลื่อนจากพลังของภาครัฐ  สถานศึกษา  และกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นเครือข่ายขับเคลื่อน

             ภายใต้ยุทธศาสตร์  “ประชารัฐ”  ในการร่วมผลักดันตลาดมันสำาปะหลังพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย  ซึ่งจะเป็นพลังสำาคัญ
             ในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจประเทศให้เติบโตอย่างมั่นคงต่อไปอย่างยั่งยืน
   1   2   3   4   5   6   7