Page 9 -
P. 9
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
/ บทที่ 1 บทนําสู่การควบคุมกิจกรรมการผลิต 3
อยู่ในโรงงาน(Open shop order) ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนําไปใช้ในการจัดลําดับความสําคัญของงานที่จะส่ง
เข้าสู่การผลิต(dispatch lists) ผลลัพธ์จาก PAC จะถูกใช้ในการควบคุมการวางแผนความต้องการกําลัง
การผลิต(Capacity Requirements Planning-CRP) การบริหารระบบต้นทุน และ การวัดผลการ
ดําเนินงานของโรงงาน เช่น ผลการดําเนินงานด้านแรงงาน อัตถประโยชน์การใช้งานเครื่องจักร และ
การควบคุมคุณภาพ PAC มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้ าหมายที่กําหนด
ไว้ในตารางการผลิตหลัก(MPS) และ แผนความต้องการวัสดุ(MRP) ในขณะเดียวกันก็ต้องคอย
ควบคุมดูแลให้มีการใช้แรงงานและเครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพ มีงานระหว่างผลิตเกิดขึ้นน้อยที่สุด
และ รักษาระดับการบริการลูกค้าไว้ให้สูงสุด
ปัจจุบัน พัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ ได้ทําให้ การควบคุมกิจกรรมการผลิต โรงงานได้ รับการ
พัฒนาให้มีประสิทธิภาพขึ้นมาก และอํานวย ประโยชน์ในการควบคุมการปฏิบัติงานในโรงงานได้เป็น
อย่างมากทั้งในด้านของความถูกต้อง แม่นยํา และ ความรวดเร็ว มีผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ เพื่อใช้ประโยชน์
ด้านการควบคุมกิจกรรมการผลิตในโรงงานมากมาย ทั้งที่เป็นซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการไหล
ของสารสนเทศในโรงงาน และซอฟท์แวร์ที่ช่วยในการจัดตารางการผลิต ซอฟท์แวร์เหล่านี้ จะช่วยใน
การรวบรวมข้อมูลและติดตามสถานะของกิจกรรมการผลิตต่างๆในโรงงานอย่างเวลาจริง(Real-
Time)ให้กับผู้บริหาร เพื่อตัดสินใจวางแผนการดําเนินงานในช่วงเวลาถัดไป นอกจากนั้น ซอฟท์แวร์ที่
ใช้ในการกําหนดตารางการผลิตในแต่ละวันก็ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพขึ้นมากเช่นกัน
สามารถปรับเปลี่ยนตารางการผลิตเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลง หรืองานฉุกเฉินหรือเร่งด่วนที่เข้ามา
ได้อย่างรวดเร็วเพียงไม่กี่วินาที สามารถเลือกวิธีในการจัดลําดับงานก่อนหลังได้หลายวิธี และ
ประเมินผลการจัดตารางการผลิตตามแต่ละวิธีเพื่อให้ผู้บริหารสามารถเลือกตัดสินใจภายใต้สภาพ แวด
ล้อมต่างๆได้อย่างเหมาะสม การมีระบบการรวบรวมสารสนเทศด้านการผลิตที่ดี มีความถูกต้องรวดเร็ว
แม่นยํา และสะดวกในการใช้งาน พร้อมกับมีซอฟท์แวร์ที่สามารถใช้ในการกําหนดตารางการผลิตที่มี
ประสิทธิภาพสูง ทําให้การนําคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการควบคุมกิจกรรมกรรมการผลิตมีความคุ้มค่า
และได้ประโยชน์สูงมากเมื่อเทียบกับการลงทุนในการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมกิจกรรมการ
ผลิต ไม่ว่าจะเป็นด้านของการลดต้นทุน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการสนับสนุนกลยุทธ์ใน
การแข่งขันทางธุรกิจ อย่างไรก็ตามขีดความสามารถที่สูงของระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าว จะสามารถ
นําไปใช้ในการดําเนินการได้อย่างประสบความสําเร็จมากน้อยเพียงไรก็ต้องอาศัยขีดความรู้
ความสามารถอย่างเพียงพอของทีมบุคลากร รวมทั้งผู้บริหารระดับสูง ที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่าง
เพียงพอเพื่อกําหนดบทบาทและนโยบายให้ฝ่ายต่างๆได้เห็นทิศทางอย่างชัดเจนในการบริหารจัดการ
ระบบการควบคุมกิจกรรมการผลิตของโรงงาน ทีมบุคลากรขององค์กรจะต้องสามารถพิจารณาเลือก