Page 8 -
P. 8
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
/ บทที่ 1 บทนําสู่การควบคุมกิจกรรมการผลิต 2
9. การบันทึกผลการดําเนินงานตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงและเปรียบเทียบผลการดําเนินการ
เหล่านั้นกับมาตรฐานและเป้าหมาย
การควบคุมกิจกรรมการผลิตหรือการควบคุมการปฏิบัติงานในโรงงานได้ถูกนิยามใน
พจนานุกรมของ APICS ว่า เป็นระบบการใช้ข้อมูลในโรงงานเพื่อการดํารงรักษาและสื่อสาร
สารสนเทศเกี่ยวกับสถานะของใบสั่งงาน (หรือสั่งผลิต) และหน่วยผลิต โดยหน้าที่ย่อยหลักของการ
ควบคุมกิจกรรมการผลิตประกอบด้วย
1. การกําหนดลําดับความสําคัญก่อนหลังให้กับแต่ละใบสั่งงาน
2. การดูแลสารสนเทศของปริมาณงานระหว่างผลิต
3. การนําส่งสารสนเทศสถานะใบสั่งงานไปยังสํานักงาน
4. การจัดเตรียมข้อมูลผลลัพธ์จากการปฏิบัติงานจริงเพื่อจุดประสงค์ในการควบคุม
กําลังการผลิต
5. การจัดเตรียมข้อมูลเชิงปริมาณตามหน่วยผลิตและใบสั่งงานเพื่อจุดประสงค์ทาง
บัญชีและการควบคุมงานระหว่างผลิต
6. การจัดเตรียมการวัด ประสิทธิภาพ(efficency) อัตถประโยชน์การใช้งาน
(Utilization) และ ผลิตภาพ(Productivity)ของแรงงานและเครื่องจักร
การควบคุมกิจกรรมการผลิตในโรงงานสามารถจะนํามาใช้ในการควบคุมใบสั่งหรือ
ควบคุมการไหลเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของวัสดุที่ไหลผ่านหน่วยงานต่างๆโรงงาน PAC จะนําเอา
สิ่งอํานวยความสะดวกในการผลิตทั้งหมด ซึ่งรวมถึง คน เครื่องจักร วัสดุ และ เครื่องมือ ต่างๆ ให้
ประสานงานเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมที่สุด เพื่อปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้ าหมายที่กําหนดไว้ใน
ตารางการผลิตหลัก โดย PAC จะคอยควบคุมลําดับความสําคัญก่อนหลังและระดับงานระหว่างผลิต
ขณะเดียวกันก็อยู่ภายใต้การยอมรับของระดับการบริการลูกค้า
พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงงานจะต้องรับผิดชอบในการดําเนินการผลิตให้สอดคล้องกับ
กําหนดส่งมอบ ทั้งกําหนดส่งมอบของขั้นการปฏิบัติงานและกําหนดส่งมอบของใบสั่งงาน PAC เป็น
เครื่องมืออย่างง่ายที่จะช่วยทําให้สิ่งดังกล่าวนี้เกิดขึ้น รูปแบบการจัดตารางการผลิตของ PAC จะ
ชี้ให้เห็นว่า เมื่อไรแต่ละขั้นตอนการผลิตควรจะเริ่มต้นและแล้วเสร็จ การคอยติดตาม(Tracking) และ
การคอยสังเกตุควบคุมภายใต้รูปแบบของการควบคุมกิจกรรมการผลิตจะแสดงให้เห็นถึงตําแหน่งและ
สถานะของใบสั่งงาน ในการปฏิบัติงานของการผลิตในโรงงานแบบตามสั่ง PAC รวบรวมข้อมูลจาก
การเฝ้าดูแลรายละเอียดสถานะของการปฏิบัติงาน รวมทั้งปริมาณของแต่ละใบสั่งงานที่กําลังดําเนินงาน