Page 43 -
P. 43
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2.4 ข้อมูลที่จําเป็นในการควบคุมกิจกรรมการผลิต(PAC Data Requirements)
ในระบบการวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมโดยทั่วๆไป การควบคุมกิจกรรม
การผลิตจําเป็นจะต้องรู้เกี่ยวกับสารสนเทศดังต่อไปนี้
1. จะต้องผลิตอะไร และจํานวนเท่าไร(MPS)
2. จะต้องใช้วัสดุหรือชิ้นส่วนอะไรและเมื่อไรเพื่อให้วันที่แล้วเสร็จสอดคล้องกับวันที่
ต้องการ(BOM)
3. สถานะพัสดุคงคลังปัจจุบัน ของผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วน ชิ้นส่วนประกอบ รวมทั้งวัตถุดิบ
เป็นอย่างไร
4. ในการผลิตดังกล่าวจะต้องผ่านกระบวนการใดบ้างและใช้เวลาในการผลิตแต่ละ
ขั้นตอนเท่าไร(Routings)
5. หน่วยผลิตที่จะใช้ในแต่ละขั้นตอนการผลิตมีกําลังการผลิตพร้อมอยู่เท่าใด (work
center)
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องมีอยู่พร้อมในเวลาที่ต้องการ และจะต้องได้รับการปรับปรุง
ให้มีความถูกต้อง และ เป็นปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา ความคลาดเคลื่อนของข้อมูลเหล่านี้ จะส่งผลต่อ
คุณภาพของการวางแผนในแต่ละระดับที่จําเป็นจะต้องนําข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการประมวลผล
โดยปกติข้อมูลที่จําเป็นสําหรับการตอบคําถามเหล่านี้จะถูกจัดการในรูปของฐานข้อมูล
ซึ่งแฟ้มข้อมูลต่างๆที่บรรจุอยู่ในฐานข้อมูลประกอบด้วย 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มฐานข้อมูลด้านการวาง
แผนการผลิต และ กลุ่มฐานข้อมูลด้านการควบคุมการผลิต ดังรายละเอียดต่อไปนี้
2.4.1 แฟ้ มข้อมูลการวางแผนการผลิต(Production Planning Files)
แฟ้ มข้อมูลการวางแผนประกอบด้วย 4 แฟ้ มข้อมูล คือ แฟ้ มข้อมูลชิ้นส่วนหลัก
(Part Master file) แฟ้มข้อมูลโครงสร้างผลิตภัณฑ์หรือรายการวัสดุ(Product structure or
BOM files) แฟ้มข้อมูลขั้นตอนการผลิต(routing File) และ แฟ้มข้อมูลหน่วยผลิต(Work
center file)
แฟ้ มข้อมูลชิ้นส่วนหลัก(Part Master File)
แฟ้มข้อมูลชิ้นส่วนหลักจะถูกนําไปใช้ในหลายๆกิจกรรม เช่น การวางแผนความ
ต้องการวัสดุ การบริหารพัสดุคงคลัง การประมาณต้นทุน และ การควบคุมกิจกรรมการผลิต สําหรับ
แฟ้มข้อมูลนี้ หมายเลขชิ้นส่วน(part number) แต่ละหมายเลขจะมี 1 ชุดข้อมูล(record) โดยจะบรรจุ
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อกับชิ้นส่วนทั้งหมด เช่น สถานะพัสดุคงคลัง และ ต้นทุนมาตรฐาน เป็นต้น แต่ละ