Page 47 -
P. 47

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                                 6.  รายงานปริมาณของเสีย จํานวนหน่วยที่เป็นของเสียที่ได้รับรายงานจากการ

                                     ตรวจสอบในระหว่างหรือหลังจากการผลิตในขั้นตอนนี้
                                 7.  วันกําหนดส่ง(ปรับแก้ไขใหม่) ถ้ามีการจัดตารางใหม่ วันที่ใบสั่งนี้ถูก

                                     กําหนดให้เป็นวันที่ต้องแล้วเสร็จ ใหม่

                                 8.  ช่วงเวลานําที่ยังเหลืออยู่


                   2.5 ระบบสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจของการควบคุมการผลิต


                          ดังที่เราได้กล่าวแล้วว่า ในการควบคุมการผลิตนั้นมีความจําเป็นที่จะต้องมีสารสนเทศที่
                   เกี่ยวกับการดําเนินการผลิตให้กับผู้ที่จะทําการตัดสินใจอย่างพร้อมเพรียง ซึ่งหมายความว่าข้อมูล

                   จะต้องถูกรวบรวมจากทุกๆ ส่วนของการดําเนินงานผลิต เช่น ฝ่ายรับรอง (receiving)  ฝ่ายส่งของ

                   (shipping)  ฝ่ายคลังสินค้า (warehousing)  ฝ่ายผลิต (manufacturing)  ฝ่ายซ่อมบํารุง (maintenance)

                   และอื่นๆ ข้อมูลเหล่านี้ต้องถูกเก็บไว้และจัดให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ต่อผู้วางแผน ในหัวข้อ
                   นี้จะครอบคลุม 2 หัวข้อของระบบสารสนเทศการควบคุมการผลิต คือ

                          1.  ข้อมูลป้อนเข้าจากโรงงานผลิต (the shop floor data input)

                          2.  ผลลัพธ์สารสนเทศการควบคุมการผลิต (the production control information output)


                          ข้อมูลป้ อนเข้าจากโรงงานผลิต (The shop floor data input)

                          ความถูกต้องและทันต่อเวลาที่ต้องการใช้ของข้อมูลที่รวบรวมได้จากโรงงานผลิต นับว่ามี

                   ความสําคัญต่อประสิทธิภาพของการผลิตเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากเครื่องจักรเกิด
                   เสียหายขึ้นมา หรือใช้งานไม่ได้โดยไม่คาดคิดมาก่อนโดยไม่ได้รายงานหรือแจ้งให้ฝ่ายซ่อมบํารุง

                   ทราบ จนกระทั่งการทํางานในกะ (shift) สิ้นสุดลง งานต่างๆ ที่จะต้องทําการผลิตบนเครื่องจักรนั้น

                   ในกะถัดไปก็จะต้องรอคอยโดยไม่มีความจําเป็นเลย ในทํานองเดียวกันถ้ามีการเคลื่อนย้ายพัสดุคง
                   คลังออกจากคลังสินค้า โดยปราศจากการบันทึกการเปลี่ยนแปลงรายการพัสดุคงคลังลงใน

                   คอมพิวเตอร์ หรือแจ้งให้ฝ่ายผลิตทราบอาจจะทําให้ผู้มีหน้าที่ในการจัดตารางการผลิต มีความเข้าใจ

                   ว่ามีของหรือชิ้นส่วนอยู่พร้อมที่จะให้นําไปใช้ได้ ซึ่งอาจจะเป็นการเข้าใจที่ผิดพลาด  ดังนั้นความ
                   เชื่อมั่นในการควบคุมการผลิตจึงขึ้นอยู่กับความถูกต้อง และทันเวลาของข้อมูลที่รวบรวมได้จาก

                   โรงงาน กิจกรรมการประมวลผลข้อมูลทั้งหมดเพื่อสนับสนุนการผลิตเราเรียกว่า ระบบสารสนเทศ

                   โรงงาน (shop floor information systems – SFIS)

                          ระบบสารสนเทศดังกล่าวนี้จําเป็นที่จะต้องทําให้ครอบคลุมถึงทุกๆ ส่วนของการผลิต ซึ่ง
                   รวมถึง คลังสินค้า การซ่อมบํารุง การผลิต การตรวจสอบ การส่งของ การรับของ และฝ่ายสนับสนุน

                   การผลิตที่มีอยู่ทั้งหมด กุญแจที่จะนําไปสู่ความสําเร็จได้นั้นคือ การรวมกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นเข้า

                   ด้วยกันโดยจัดทําในรูปของระบบสารสนเทศเครือข่าย (networked information system) สําหรับการ
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52