Page 106 -
P. 106

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี






                       ของเวลาการทํางานทั้งหมดคือ 56 ชั่วโมง พร้อมกันนั้นก็จะเห็นว่า หน่วยผลิตหน่วยที่ 1 จะทํางาน

                       อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งงานทุกงานแล้วเสร็จบนหน่วยผลิตหน่วยที่ 2 เป็นไปได้ที่จะมีงานรอจน
                       กระทั่งหน่วยผลิตว่าง สามารถนําเอางานที่ต้องการผ่านหน่วยผลิตเพียงหน่วยเดียวเข้ารวมพิจารณา

                       ไปพร้อม ๆ กันกับงานอื่น ๆ ที่ผ่านหน่วยผลิต 2 หน่วยได้ ในกรณีนี้หน่วยผลิตอีกหน่วยหนึ่งจะถูก

                       กําหนดให้เป็นศูนย์ ซึ่งงานนั้นจะสามารถพบคําตอบได้ด้วยตัวมันเอง คือ จะต้องเริ่มต้นเร็วที่สุด
                       หรืออยู่ท้ายที่สุดของการจัดตารางการผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง



               2       3             1       6                 9             5          4          7    10       8  2
        หน่วยผลิต

               1 3  1      6         9          5         4             7        10                8    2

         2 4 6 8 10 12 14 16 18 20 22 24 26 28 30 32 34 36 38 40 42 44 46 48 50 52 54 56
         เวลา

         รูปที่ 4.11 แสดงผลลัพธ์การจัดตารางการผลิตด้วยกระบวนวิธีของจอห์นสัน



                              ประเด็นสําคัญของจอห์นสันอยู่ที่สามารถทําความเข้าใจได้ง่าย โดยที่ต้องการให้มีงาน 2

                       หรือ 3งานผ่านหน่วยผลิตที่ 1 ไปอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะทําให้หน่วยผลิตที่ 2 มีงานทํา และตอนปลาย

                       ช่วงของตารางการผลิต มีความต้องการที่จะให้มีงานที่ใช้เวลาปฏิบัติงานน้อย ๆ อยู่กับหน่วยผลิต
                       หน่วยสุดท้าย ทั้งนี้ก็เพื่อว่าเมื่อหน่วยผลิตหน่วยแรกดําเนินการแล้วเสร็จจะสามารถไปทําต่อใน

                       หน่วยผลิตที่ 2 ให้แล้วเสร็จได้อย่างรวดเร็ว

                              สําหรับหลักเกณฑ์ของจอห์นสันโดยทั่ว ๆ ไปที่นํามาใช้กับกรณีมากกว่า 2 หน่วยผลิต
                       ได้ถูกนําเสนอโดยแคมเบล ดูเดค และสมิท (Campbell, Dudek, and Smith , CDS)(1970) แคมเบล

                       ดูเดค สมิทส์(Cambell , Dudek and Smith) ได้พัฒนากระบวนวิธีในการจัดตารางการผลิตสําหรับ

                       การผลิตแบบไหลที่มีเครื่องจักรมากกว่า 2  เครื่องขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดช่วงกว้างการ

                       ทํางานทั้งหมด ซึ่งวิธีของ CDS เป็นการประยุกต์เอาวิธีของจอห์นสัน มาใช้ โดยสร้างเป็นแผนงาน
                       ช่วย ซึ่งจะมีจํานวนแผนงานช่วยเท่ากับจํานวน m-1 แผน ซึ่ง m หมายถึงจํานวนเครื่องจักรทั้งหมด

                       ในแต่ละแผนงานช่วยที่ CDS  สร้างขึ้นมาจะมีสภาพแวดล้อมเหมือนวิธีของจอห์นสัน หลังจากนั้น

                       จะใช้วิธีของจอห์นสันในการหาลําดับและนําไปสร้างตารางการผลิตให้กับงานในระบบทั้งหมด ซึ่ง

                       แต่ละแผนงานช่วยก็จะสร้างลําดับและตารางการผลิตด้วยวิธีของจอห์นสันได้หนึ่งตาราง เราจะได้
                       ตารางการผลิตทั้งหมด m-1  ตาราง หลังจากนั้นเราจะเลือกเอาคําตอบจากผลลัพธ์การจัดตารางการ

                       ผลิตที่มีช่วงกว้างการทํางานทั้งหมดสั้นที่สุด มาเป็นคําตอบของวิธี CDS  เรามาลองพิจารณาจาก

                       ตัวอย่างปัญหาต่อไปนี้
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111