Page 105 -
P. 105
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ตัวอย่างที่ 4.3 การจัดตารางการผลิตแบบไหล 2 เครื่องจักร
เพื่อให้เราเข้าใจกระบวนการของจอห์นสันได้ดียิ่งขึ้น ขอให้พิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้ซึ่ง
ประกอบด้วยงาน 10 งาน ดังแสดงในตารางที่ 4.16
ตารางที่ 4.16 ข้อมูลงานสําหรับการจัดตารางการผลิตบนหน่วยผลิต 2 หน่วยแบบอนุกรมกัน
เวลาบนหน่วยผลิตที่ 1 เวลาบนหน่วยผลิตที่ 2
(ชั่วโมง) (ชั่วโมง)
1 3 5
2 6 2
3 2 8
4 7 6
5 6 6
6 5 9
7 5 4
8 3 2
9 6 8
10 10 4
วิธีหาคําตอบ
เวลาที่น้อยที่สุดของงาน 10 งานคือ เวลา 2 ชั่วโมง ซึ่งพบในงานที่ 2 บนหน่วยผลิตหน่วยที่
2 (t ) งานที่ 3 บนหน่วยผลิตหน่วยที่ 1 (t ) และงานที่ 8 บนหน่วยผลิตหน่วยที่ 2 (t ) ดังนั้นงาน
3,1
8,2
2,2
3 จะถูกจัดลําดับให้อยู่ในตําแหน่งเริ่มต้นของการจัดการตารางการผลิต งาน 2 และงาน 8 จะถูกจัด
ให้อยู่ในลําดับสุดท้าย สําหรับงาน 2 และงาน 8 มีเวลาเท่ากัน เราจะเลือกงานใดก่อนก็ได้ ในที่นี้เรา
จะเลือกพิจารณางานที่มีเวลาปฏิบัติงานยาวนานที่สุด (t ) เป็นงานที่อยู่อันดับสุดท้าย นั่นคืองาน 2
i,1
ดังนั้น การจัดตารางการผลิตจนกระทั่งถึงขณะนี้จะได้ผลลัพธ์ดังนี้
3_____________________8 2
ซึ่งงานเหล่านี้จะถูกขจัดออกไปจากรายการ หลังจากนั้นจึงย้อนกลับไปขั้นตอนที่ 1 ใหม่ ซึ่
ขณะนี้เวลาปฏิบัติงานที่น้อยที่สุดคือ 3 ชั่วโมง เป็นงานที่ 1 บนหน่วยผลิตหน่วยที่ 1 จึงใส่งานลงใน
ลําดับที่ 2 ของตําแหน่งการจัดตารางการผลิต
3 1_____________________8 2
ดําเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวนี้ไปเรื่อย ๆ จะทําให้ได้ลําดับของงานต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ คือ
3-1-6-9-5-4-7-10-8-2 รูปที่ 4.11 ได้แสดงผลลัพธ์ของการจัดลําดับดังนี้ สังเกตจะเห็นว่าช่วงกว้าง