Page 86 -
P. 86

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                        82






                                                            บทที่ 8

                                          โครโมโซมในระหวางการสืบพันธุแบบมีเพศของพืช

                                           (Chromosome During Sexual Reproduction)



                     8.1 คํานํา


                               การสืบพันธุแบบมีเพศของพืช (sexual reproduction)  ทําใหโครโมโซมและยีนบน

                     โครโมโซมของพอแมถูกถายทอดไปยังลูกหลาน (genetic transmission) นอกจากนี้ยังทําใหเกิดการ

                     รวมตัวของยีนจากโครโมโซมพอแมในรูปแบบตาง ๆ (genetic recombination) ลูกที่ไดจึงมีลักษณะ
                     แตกตางกัน กระบวนการสืบพันธุแบบมีเพศของสิ่งมีชีวิตประกอบดวยขั้นตอนที่สําคัญ 2 ขั้นตอน คือ

                     1) การแบงเซลลแบบไมโอซิส เพื่อสรางเซลลสืบพันธุพอและแม และ 2) การรวมกันระหวางเซลล

                     สืบพันธุพอและแมซึ่งเกิดขึ้นในระหวางการผสมพันธุ (syngamy) การรวมกันระหวางเซลลสืบพันธุ
                     พอและแมเปนขั้นตอนที่ทําใหเกิดการรวมตัวของยีนจากโครโมโซมพอและแมในแบบตาง ๆ ลูกที่ได

                     จึงมีลักษณะแตกตางกันไปหรือมีลักษณะใหม ๆ เกิดขึ้น ทําใหมนุษยสามารถคัดเลือกพืชหรือสัตวที่มี

                     ลักษณะที่ตองการได


                     8.2 ชีพจักรของสิ่งมีชีวิต



                               ชีพจักร (life cycle) ของสิ่งมีชีวิตสามารถแบงอกไดเปน 3 แบบ คือ แฮพลอนต (haplont)
                     ดิพลอนต (diplont)  และดิพโพล-แฮพลอนต (diplo-haplont)  ซึ่งในแตละชีพจักรจะประกอบดวย
                     กระบวนการแบงเซลลแบบไมโอซิสเพื่อสรางเซลลสืบพันธุและการผสมพันธุ (fertilization) สลับกัน

                     ไปอยางแนนอน
                        8.2.1 แฮพลอนต คือ สิ่งมีชีวิตที่มีจํานวนโครโมโซมชุดพื้นฐาน (genome) เพียงชุดเดียว (x) พบ

                     มากในสาหรายเซลลเดียว สาหรายที่เปนเสนสาย (filamentous algae) และโปรโตซัว (protozoa) พวก
                     แฮพลอนตจะมีชวงชีวิตที่เปนแฮพลอยด (haplophase) ซึ่งนับตั้งแตการแบงเซลลแบบไมโอซิสจนถึง

                     การผสมพันธุ ยาวนานกวา และเดนชัดกวาชวงชีวิตที่เปนดิพลอยด (diplophase) ซึ่งนับตั้งแตภายหลัง
                     การผสมพันธุจนถึงเริ่มตนการแบงเซลลแบบไมโอซิส (รูปที่ 8.1) สิ่งมีชีวิตพวกนี้มีไซโกต (zygote)

                     เทานั้นที่เปนดิพลอยด แตแฮพลอยดบางชนิดไซโกตจะเปลี่ยนไปอยูในรูปของสปอร (spore) เพื่อการ
                     อยูรอดของชีวิตในสภาพแวดลอมที่ไมเหมาะสม สวนชีวิตในวัยที่โตเต็มที่ (mature individual) กลับ

                     อยูในสภาพของแฮพลอยด ประกอบดวยเซลลหลายเซลลที่มีการแบงเซลลแบบไมโตซิส
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91