Page 84 -
P. 84
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
80
7.7 ระยะโปรเฟส II
กระบวนการไมโอซิส II จะคลายคลึงกับการแบงเซลลแบบไมโตซิส ที่ระยะโปรเฟส II
แขนทั้ง 4 ขางของโครมาติดทั้งสองของไดแอดจะวางตัวแบบอยูแยกกัน ทําใหมองดูคลายกับ
เครื่องหมายกากะบาด ซึ่งจุดตัดตรงกลางคือ เซนโตรเมียร ที่ระยะนี้โครโมโซมมีขนาดสั้นและไมพัน
กันจึงทําใหสามารถตรวจนับจํานวนโครโมโซมไดเชนกัน
องคประกอบทางพันธุกรรม (genetic constitution) ของโครมาติดทั้งสองในระยะไมโอซิส
II ขึ้นอยูกับขอบเขตของครอสซิงโอเวอรที่เกิดขึ้นในระยะโปรเฟส I ไดแอดจะมีองคประกอบทาง
พันธุกรรมบางสวนมาจากพอและบางสวนมาจากแม ดังนั้นการแลกเปลี่ยนชิ้นสวนระหวางโครมาติด
และการกระจายตัวของโครโมโซมพอแมไปยังเซลลลูกในระหวางกระบวนการไมโอซิส I และ II มี
ผลทําใหเกิดการรวมตัวของยีนในแบบตาง ๆ (genetic recombination)
รูปที่ 7.9 เมื่อสิ้นสุดการแบงเซลลแบบไมโอซิสจะไดเซลลลูกจํานวน 4 เซลลเรียงอยูติดกัน
(quarter cell) ในขาวบารเลย
7.8 ระยะเมตาเฟส อะนาเฟส และเทโลเฟส II
โครโมโซมไดแอดจะเคลื่อนที่มาอยูตรงบริเวณแนวกลางเซลลลูกทั้งสองในระยะเมตาเฟส
II ตอมาเซนโตรเมียรของไดแอดจะแบงออกเปนสองสวนทําใหโครมาติดทั้งสองแยกออกจากกันเปน
โครโมโซมเดี่ยว ๆ เรียกวา โมแนด (monad) แลวโมแนดทั้ง 4 แทงจะเคลื่อนที่แยกจากกันไปยังขั้วทั้ง
4 ของเซลลลูกทั้งสอง (duet cell) ในระยะอะนาเฟส II เมื่อเขาสูระยะเทโลเฟส II จะมีการสรางผนัง
เซลลขึ้นเพื่อกั้นแบงเซลลเดิมทั้งสอง ทําใหไดเซลลใหมจํานวน 4 เซลลอยูเรียงติดกัน (รูปที่ 7.9) ซึ่ง
เรียกวา เรเดียล ควอเทต เซลล (radial quarter cell) และแตละเซลลมีจํานวนโครโมโซมเปนครึ่งหนึ่ง
ของเซลลเริ่มตน