Page 28 -
P. 28
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
24
โอโซม (nucleosome) หรือ nu body นิวคลีโอโซมมีขนาดเสนผาศูนยกลาง 11 นาโนเมตร แตละนิวคลี
โอโซมประกอบดวยฮิสโตน H2A, H2B, H3 และ H4 อยางละ 2 โมเลกุล รวมกันเปน 8 โมเลกุล
เกาะติดกันอยูตรงกลาง และมีสายดีเอ็นเอซึ่งมีความยาวประมาณ 145 คูเบสพันอยูรอบ ๆ จํานวน 2
รอบ ที่ปลายดานหนึ่งของดีเอ็นเอจะเชื่อมตอกับฮิสโตน H อีกหนึ่งโมเลกุล (รูปที่ 3.3) และจะเปน
1
เชนนี้ไปเรื่อย ๆ ตลอดความยาวของสายใยโครมาติน ในระหวางการแบงเซลลแบบไมโตซิส
(mitosis) หรือไมโอซิส (meiosis) สายใยโครมาตินจะขดตัวสั้นลงแตหนาขึ้นทําใหมองเห็นเปนรูปราง
ของโครโมโซมไดในระยะเมตาเฟส (metaphase) โดยสายใยนิวคลีโอโซม (nucleosome fiber) ซึ่งมี
เสนผาศูนยกลาง 11 นาโนเมตรจะขดตัว (coiling) เปนเกลียวไปทางดานซายมือ (left-handed helix)
แตละเกลียวประกอบดวย 6 นิวคลีโอโซม ทําใหมีลักษณะเปนสายใยที่มีเสนผาศูนยกลาง 30 นาโน
เมตร เรียกวา solenoid (รูปที่ 3.4) แต solenoid จะขดตัวกลายเปนโครโมโซมไดอยางไรนั้น เรายังไม
ทราบแนชัด อยางไรก็ตามจากการศึกษาดวยกลองจุลทรรศนอิเลคตรอน (electron microscope) ใน
เซลลพิเศษบางชนิด พบวา solenoid มีการพับไปมา (folding) ทําใหมองเห็นเปนหวง (loop) จํานวน
มากยื่นออกมาจากแกนกลางที่เรียกวา scaffold ซึ่งมีโปรตีนชนิดที่ไมใชฮิสโตน (nonhistone protein)
เปนองคประกอบ หวงที่ยื่นออกมาจาก scaffold ทั้งสองดานทําใหแตละดานมีเสนผาศูนยกลาง
ประมาณ 0.25 ไมโครเมตร หรือ 250 นาโนเมตร จากหวงของ solenoid จะมีการขดตัวสั้นลงอยางไร
จึงกลายเปนโครมาติดไดนั้น ก็ยังไมทราบเชนกัน แตมีผูเสนอความคิดเห็นวา หวงของ solenoid จะ
พันกันเปนขดเกลียวหนา ๆ (supercoil) จนกลายเปนโครมาติดทั้งสองของโครโมโซม ซึ่งสามารถ
มองเห็นไดในระยะเมตาเฟสของการแบงเซลล (รูปที่ 3.5)