Page 146 -
P. 146
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
142
13.4 คอมเพลกซ ทรานสโลเคชัน
คอมเพลกซ ทรานสโลเคชัน (complex translocation) พบในสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เปนการ
แลกเปลี่ยนชิ้นสวนที่เกิดขึ้นระหวางโครโมโซมมากกวา 2 คู เกิดจากการมีรอยแตกหักบนโครโมโซม
มากกวา 3 แหง ในระยะเมตาเฟส I จะพบโครโมโซมมีการจัดเรียงตัวเปนรูปวงแหวนมากกวา 2 วง ซึ่ง
ประกอบดวยโครโมโซมจํานวน 6, 8, 10... แทง (รูปที่ 13.9) สิ่งมีชีวิตที่ไดรับการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้
มากที่สุดคือ พืชในสกุล Oenothera (2n = 14) โดยเฉพาะอยางยิ่งตน evening primrose (O.
lamarckiana) พบคอมเพลกซ ทรานสโลเคชันเกิดขึ้นกับโครโมโซมทั้ง 14 แทง ทําใหเกิดการ
แลกเปลี่ยนชิ้นสวนแขนโครโมโซมในแบบตาง ๆ ไดถึง 91 แบบ ดังนี้ 1-2, 1-3, 1-4, 1-5, 1-6, 1-7 ;
2-3, ….., 2-7 ; ……, 6-7 ในระยะไดอะไคเนซิสโครโมโซมที่เปนทรานสโลเคชันจากฝายพอหรือ
กัวเดนส (gaudens) และฝายแมหรือเวเลนส (velans) จะมาจับสลับกันเปนรูปซิกแซก พอถึงระยะเมตา
เฟส I โครโมโซมมีการจัดเรียงตัวแบบออลเทอรเนท ภายหลังจากที่โครโมโซมแยกตัวออกจากกัน
ไปสูคนละขั้วเซลลในระยะอะนาเฟส I แลว จะพบวา ที่ขั้วหนึ่งไดรับโครโมโซมของฝายพอทั้งหมด
ในขณะที่อีกขั้วหนึ่งไดรับโครโมโซมจากฝายแมทั้งหมด (รูปที่ 13.10) ดังนั้นจึงไดเซลลสืบพันธุเพียง
2 ชนิดเทานั้น คือ ชนิดที่ประกอบดวยโครโมโซมจากฝายพอ และจากฝายแม เมื่อเกิดการผสมขามกับ
ชุดของโครโมโซมชนิดอื่น ๆ พบวาชุดโครโมโซมจากฝายพอประกอบดวยยีนที่ควบคุมลักษณะการมี
จุดสีแดงบนใบที่มีขนาดกวาง ลําตนปกติ และมีตาสีเขียว สวนชุดโครโมโซมจากฝายแมประกอบดวย
ยีนที่ยับยั้งการเกิดจุดสีแดงบนใบที่มีขนาดแคบ ลําตนผอมยาว และตามีสีแดงสลับเขียว
นอกจากนี้โครโมโซมทั้ง 2 ชุดนี้ยังมียีนมรณะ (lethal gene) ซึ่งกอใหเกิดการตายของไซ
โกต (zygotic lethality) เมื่ออยูในสภาพโฮโมไซกัส ภายหลังการผสมพันธุระหวางเซลลสืบพันธุทั้ง 2
ชนิดนี้ เมล็ดที่ไดรับและสามารถงอกเปนตนพืชที่สมบูรณไดจะมาจากการรวมตัวของเซลลสืบพันธุ
ตางชนิดกัน (heterozygous) เทานั้น
กัวเดนส / กัวเดนส ตาย
เวเลนส / เวเลนส ตาย
กัวเดนส / เวเลนส ตนสมบูรณ และจะสรางเซลลสืบพันธุ 2 ชนิด
คือ กัวเดนส และเวเลนสเสมอ
ระบบการมียีนมรณะที่ควบคุมทําใหลูกหลานที่ไดเปนเฮตเทอโรไซกัส ทรานสโลเคชันอยู
เสมอ เรียกวา สมดุลมรณะ (balanced lethal) ซึ่งจะปองกันไมใหเกิดสายพันธุแทที่เปนโฮโมไซกัส