Page 142 -
P. 142

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                       138






                     13.3 รีซิโปรคอล ทรานสโลเคชัน



                               การแลกเปลี่ยนชิ้นสวนระหวางโครโมโซมที่มิไดเปนคูกันแบบรีซิโปรคอล  ทราน
                     สโลเคชันนั้นพบมากกวาแบบอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่เปนทรานสโลเคชัน เฮตเทอโรไซโกต (translocation

                     heterozygote) (รูปที่ 13.6 A) ในระยะพะคีทีนของการแบงเซลลแบบไมโอซิส โครโมโซมทั้ง 4 แทง

                     จะมาจับคูแนบชิดกัน (quadruple) เปนรูปกากะบาด (cross) (รูปที่ 13.6 B และรูปที่ 13.7) ซึ่งมีลักษณะ

                     คลายกับการจับคูกันของโครโมโซมที่เหมือนกัน 4 แทง หรือที่เรียกวา ควอดริวาเลนท (quadrivalent)
                     และเมื่อมีการแลกเปลี่ยนชิ้นสวนระหวางโครโมโซม 2 คูนี้แลว ในระยะไดอะไคเนซิสจะพบ

                     โครโมโซมทั้ง 4 มีการจัดเรียงตัวเปนรูปแบบตาง ๆ (รูปที่ 13.6 C) ดังนี้ ถาการแลกเปลี่ยนชิ้นสวน

                     โครโมโซมเกิดขึ้นตรงตําแหนง 1 2 3 4 5 และ 6 โครโมโซมทั้ง 4 จะจัดเรียงตัวเปนรูปเลข 8 ถาการ
                     แลกเปลี่ยนเกิดขึ้นที่ตําแหนง 1 3 5 และ 6 โครโมโซมทั้ง 4 จะจับกันเปนรูปวงแหวน ถาการ

                     แลกเปลี่ยนเกิดขึ้นที่ตําแหนง 1 3 และ 5 โครโมโซมทั้ง 4 จะมาตอกันคลายลูกโซ


























                     รูปที่ 13.6  ไดอะแกรมแสดงการจับคูกันของโครโมโซมทั้ง 4 ของสิ่งมีชีวิตที่เปนทรานสโลเคชันเฮต

                               เทอโรไซโกต (A) โครโมโซมคูเหมือน 2 คูที่เกิดรีซิโปรคอล ทรานสโลเคชัน (B) โครโมโซม

                               ทั้ง 4 มาจับคูกันเปนรูปกากะบาดในระยะพะคีทีน และมีไคแอสมาเกิดขึ้น 6 แหง (1 ถึง 6)
                               (C) ในระยะไคอะไคเนซิสโครโมโซมทั้ง 4 จะจัดเรียงตัวเปนรูปแบบตาง ๆ ขึ้นอยูกับ

                               จํานวนไคแอสมา เชน รูปเลข 8 รูปวงแหวน และรูปลูกโซ
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147