Page 144 -
P. 144
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
140
เปนคูกันแยกจากกันไปคนละขั้วเซลล แตละขั้วจะไดรับโครโมโซมปกติ 1 แทงกับโครโมโซมที่เปนท
รานสโลเคชันอีก 1 แทง เซลลสืบพันธุที่เกิดจากการแยกตัวของโครโมโซมแบบนี้จะเปนหมันทั้งหมด
ดังนั้นสิ่งมีชีวิตที่เปนทรานสโลเคชัน เฮตเทอโรไซโกตเมื่อสรางเซลลสืบพันธุจะไดเซลลสืบพันธุ
ปกติ 50 % และเปนหมัน 50 % เรียกวา เซมิสเตริลิตี (semisterility) ในพืชพวกขาวโพด ขาวฟาง ถั่ว
และพิทูเนียเราสามารถตรวจสอบไดจากชอดอกที่ติดเมล็ดเพียง 50 % เทานั้น ในสัตวเลี้ยงลูกดวย
น้ํานมพบรีซิโปรคอล ทรานสโลเคชันในหนู อยางไรก็ตามในสิ่งมีชีวิตบางชนิด เชน ขาวบารเลย ขาว
ไรย ขาวสาลี Datura, Oenothera และแมลงหลายชนิด พบการจัดเรียงตัวและแยกตัวของโครโมโซม
ทั้ง 4 ในแบบออลเทอรเนทผันแปรระหวาง 70 ถึง 95 % เราเรียกการกระจายตัวแบบนี้วา พรีเฟอเรน
เซียล เซกกรีเกชัน (preferential segregation) ดังนั้นลักษณะการเปนหมัน 50 % จึงไมเกิดขึ้น
2. นอนโคโอเรียนเทชัน (noncoorientation) การจัดเรียงตัวแบบนี้ (เดิมมีการจัดเรียงตัว
แบบลูกโซในระยะไดอะไคเนซิส) เซนโตรเมียร 2 อัน (A, B) จะวางตัวอยูตรงขามกันคนละขั้วเซลล
ในขณะที่เซนโตรเมียรอีก 2 อัน (a, b) จะวางตัวอยูตรงแนวกลางเซลล ในระยะอะนาเฟสโครโมโซมที่
มีเซนโตรเมียร A และ B จะเคลื่อนที่แยกออกจากกันไปยังคนละขั้วเซลล ในขณะที่โครโมโซมที่
วางตัวตั้งฉากกับแนวกลางเซลลอาจเคลื่อนที่ไปดวยกันยังขั้วใดขั้วหนึ่ง ทําใหเกิดการกระจายตัวของ
เซลลสืบพันธุ (segregation) ในอัตราสวน 3:1 หรืออาจเคลื่อนที่แยกออกจากกันไปคนละขั้วเซลล ทํา
ใหมีการกระจายตัวของเซลลสืบพันธุในอัตราสวน 2:2 ในกรณีการกระจายตัวแบบ 3:1 เซลลสืบพันธุ
จะมีโครโมโซมเพิ่มขึ้นมาหรือขาดหายไป 1 แทง (aneuploid) ดังนั้นภายหลังการผสมพันธุจะไดลูกที่
เปนไตรโซมิค (trisomic, 2n + 1) หรือโมโนโซมิค (monosomic, 2n-1) สวนการกระจายตัวแบบ 2:2
ในแตละขั้วเซลลไดรับทั้งโครโมโซมปกติและโครโมโซมที่เปนทรานสโลเคชัน (เชน A, a) ดังนั้น
เซลลสืบพันธุที่ไดจึงมีทั้งชิ้นสวนโครโมโซมที่เกินมาหรือขาดหายไป เซลลสืบพันธุจึงเปนหมัน
ทั้งหมดเหมือนกับการจัดเรียงตัวแบบแอดจาเซนท ดังนั้นการจัดเรียงตัวของโครโมโซมแบบนอนโค
โอเรียนเทชัน จะไดเซลลสืบพันธุที่เปนหมันบางสวน