Page 312 -
P. 312

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                      3-44





                                2. กรมปาไมจัดการดูแลในลักษณะเปนเขตกันชน (Buffer Zone) เพื่ออนุรักษปาชายเลน
                  ตลอดแนวฝงทะเลกวางไมนอยกวา  100  เมตร  หากปรากฎวาในทองที่ใดเปนที่อยูอาศัยของราษฎร  ใหนํา
                  ขอเสนอที่ไดทบทวนแลวในขอ 1 มาใชโดยอนุโลม

                                3. ทาเทียบเรือประมง ที่ดําเนินการมากอนวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 ใหกรมปาไมพิจารณาอนุญาต
                  ใหใชพื้นที่ในเขตปาชายเลนคราวละไมเกิน 2 ป แตทั้งนี้รวมกันแลวตองไมเกินระยะเวลา 15 ป นับตั้งแตคณะรัฐมนตรีมี
                  มติเห็นชอบ  โดยหามมิใหขยายพื้นที่ทําการ  พรอมทั้งใหกําหนดมาตรการควบคุมเพื่อปองกันผลกระทบสภาพปาและ
                  สิ่งแวดลอมและภายหลังจาก 15 ปแลว ใหรัฐเปนผูเขาไปดําเนินการตอไป
                                4.  สถานที่ราชการในหมูบานในเขตปาชายเลนที่มีอยูกอนวันที่  23  กรกฎาคม  2534  ให

                  พิจารณาเพิกถอนสภาพปาชายเลน”

                                จากมติคณะรัฐมนตรีดังกลาวนี้ทําใหปาชายเลนเปนพื้นที่ที่กําหนดไวเปนเขตอนุรักษ ถึงป
                  พ.ศ. 2552 ปาชายเลนมีเนื้อที่ 1,525,060 ไร (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝง, 2553: 37)

                                        (3) การจําแนกเขตการใชประโยชนทรัพยากรและที่ดินปาไมในพื้นที่ปาสงวนแหงชาติ
                                        คณะรัฐมนตรีไดมีมติเมื่อวันที่ 10 และ 17 มีนาคม 2535 เรื่องการจําแนกเขต
                  การใชประโยชนทรัพยากรและที่ดินปาไม โดยแบงออกเปน 3 โซน คือ

                                        (1) โซนที่เหมาะสมตอการเกษตร (A)    มีจํานวน   7,222,540 ไร
                                        (2) โซนเศรษฐกิจ (E)                       มีจํานวน  51,887,091 ไร
                                           (3) โซนอนุรักษ (C)                         มีจํานวน  88,233,415 ไร
                                                      รวมเนื้อที่                    147,343,415  ไร    (ตารางที่ 3-18)

                                        ปาโซน A จํานวน 7.22 ลานไรและโซน E จํานวน 37.06 ลานไร นั้นกรมปาไมได
                  สงมอบใหสํานักงานการปฎิบัติรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไปจัดเปนที่ทํากินรวม  44.28  ลานไร  ในป  2536
                  (กรมปาไม, 2537: 75) ดังนั้นปาไมที่ยังเหลืออยูทั้งในโซน C  และโซน E  ที่อยูในความรับผิดชอบของกรม
                  ปาไมจึงมีเพียง 103.06 ลานไร


                                3.4.3 ปาเพื่อการอนุรักษตามนโยบาย
                                ปาเพื่อการอนุรักษตามนโยบายมี 3 ประเภท คือ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตรและสวนรุกขชาติ
                                (1)  วนอุทยาน  (Forest  Park)  คือ  พื้นที่ประกอบดวยทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสําคัญทาง

                  ระบบนิเวศวิทยา  อันมีความสวยงามที่เปนเอกลักษณเฉพาะตัว  ซึ่งมีจุดมุงหมายเพื่ออนุรักษทรัพยากรธรรมชาติ
                  นั้นๆ  วนอุทยานสวนใหญยังไมไดมีการพัฒนาพื้นที่เพื่อการทองเที่ยวอยางถาวร  เปนพื้นที่ขนาดเล็กจัดตั้งเพื่อการ
                  พักผอนหยอนใจ  มีความสําคัญในระดับทองถิ่น  จุดเดนอาจไดแกน้ําตก  หุบเหว  หนาผา  ถ้ําหรือหาดทราย
                                วนอุทยานที่ประกาศแลวมีจํานวน 110 แหง เนื้อที่ 756,866 ไร (ตารางที่ 3-19)

                                (2) สวนพฤกษศาสตร
                                คือสวนที่รวบรวมพันธุไมทั้งสดและแหง และแสดงถิ่นที่กําเนิดของพรรณพืชเพื่อเปนแหลง
                  ศึกษาทางพฤกษศาสตร ศึกษาความแตกตางของชนิดพันธุ สภาพทางสรีรวิทยา การเจริญเติบโต การ
                  แพรกระจาย การอนุรักษ การใชประโยชน ฯลฯ โดยในสวนพฤกษศาสตรจะจัดปลูกพันธุไมตางๆ โดยใน

                  สวนพฤกษศาสตรจะจัดปลูกพันธุไมตางๆ ทั้งของไทยและของตางประเทศใหเปนหมวดหมูตามหลักสากล
                  และตามหลักวิชาการทางพฤกษศาสตรใหดูสวยงาม และเปนที่พักผอนหยอนใจ

                                สวนพฤกษศาสตร ที่มีการจัดตั้งแลวจํานวน 17 แหง เนื้อที่รวม 28,990 ไร (ตารางที่ 3-20)
   307   308   309   310   311   312   313   314   315   316   317