Page 32 -
P. 32
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ที่ได้จากงานวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) จะสามารถดำาเนินการได้ก็
ต่อเมื่อมีการนำาผลงานวิจัยพื้นฐานไปใช้ต่อยอดในงานวิจัยประยุกต์
(Applied Research) สาขาต่างๆ แล้วดำาเนินการประเมินผลประโยชน์ที่
ได้รับในแต่ละขั้นตอนของการประยุกต์ใช้งานวิจัยพื้นฐานแต่ละส่วน ซึ่งใน
ทางปฏิบัติแล้วมีรายละเอียดพอสมควร แต่สำาหรับงานวิจัยที่มีลักษณะเป็น
งานวิจัยประยุกต์นั้น การประเมินผลประโยชน์สามารถดำาเนินการได้ง่ายกว่า
งานวิจัยในลักษณะแรก เนื่องจากผลประโยชน์ที่ได้รับค่อนข้างชัดเจน เป็น
รูปธรรม และงานวิจัยประยุกต์จำานวนมากสามารถประเมินผลประโยชน์ที่
เกิดขึ้นกับสังคมเป้าหมายได้โดยตรงเป็นต้น
ในทางเศรษฐศาสตร์ “สังคม” ถูกพิจารณาเสมือนเป็นองค์กรที่
ประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจ 2 ส่วนหลัก คือ ผู้ผลิต และผู้บริโภค ดังที่
ได้อธิบายในเบื้องต้นแล้วของบทที่ 2 ดังนั้น การพิจาณาผลประโยชน์ที่เกิด
จากการดำาเนินงานวิจัยต่างๆ นั้น แท้ที่จริงก็คือการประเมินผลประโยชน์
สุทธิที่หน่วยเศรฐกิจทั้ง 2 ส่วนของสังคมจะได้รับนั่นเอง ตามหลักเศรษฐศาสตร์
เรียกผลประโยชน์สุทธิที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคได้รับว่า “ส่วนเกินของผู้ผลิต
( Producer’s Surplus ) ” และ “ ส่วนเกินของผู้บริโภค ( Consumer’s
Surplus ) ” ตามลำาดับ และเมื่อนำาส่วนเกินของทั้งผู้ผลิตและของผู้บริโภค
มารวมกัน เรียกว่า “ส่วนเกินทางเศรษฐกิจ ( Economic Surplus )”
การพิจารณาส่วนเกินทั้ง 3 ประเภทนี้ เป็นการพิจารณาผลประโยชน์ที่มี
มูลค่าเกินกว่าต้นทุนที่เกิดขึ้นกับแต่ละหน่วยเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นที่มาของ
คำาว่า “ส่วนเกิน” นั่นเอง
อนึ่ง การประเมินผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ที่เป็นไปตามหลัก
การทางทฤษฎีภายใต้แนวคิดเกี่ยวกับส่วนเกินทางเศรษฐกิจนั้น ค่อนข้างมี
ความซับซ้อน เนื่องจาก ผู้ที่ทำาการประเมินจำาเป็นต้องมีองค์ความรู้พื้นฐาน
ทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์อยู่พอสมควร ทั้งในด้านการวิเคราะห์สมการอุปสงค์
14