Page 51 -
P. 51

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


                                                                                       อุตุนิยมวิทยา   33







                                  ในช่วงเวลาที่เกิดลมสุริยะ  (Solar  wind)  จากการลุกจ้าขึ้นของแก๊สไฮโดรเจน  และ
                       แก๊สฮีเลียมในชั้นโคโรนา  (Corona)  ของดวงอาทิตย์ซึ่งเกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ความร้อน


                       (Nuclear thermal  reaction)  จึงมีประจุไฟฟ้ าที่เกิดจากปฏิกิริยาดังกล่าวเคลื่อนที่มาพร้อมกับคลื่น
                       แม่เหล็กไฟฟ้า ประจุไฟฟ้าดังกล่าว ได้แก่ อิเล็กตรอน และโปรตอน เหตุการณ์เช่นนี้ท าให้รูปร่าง

                       ของสนามแม่เหล็กโลกบิดเบี้ยวจากสภาพทรงกลมแป้ นเป็นรูปป้านด้านหน้า แต่มีหางยาวย้อยไป
                       ทางด้านหลัง สภาพการณ์นี้เรียกว่า พายุแม่เหล็ก (magnetic storm) กระท าต่อสนามแม่เหล็กโลก


                                  เมื่อประจุไฟฟ้ าจากลมสุริยะเคลื่อนที่เข้าสู่บริเวณแมกนีโตสเฟียร์ โดยมีทิศทางการ
                       เคลื่อนที่ท ามุมกับสนามแม่เหล็กโลกจึงถูกเบี่ยงเบนให้เคลื่อนที่เป็นเกลียวในทิศทางที่ออกไปนอก

                       เขตแมกนีโตพอส  แต่บางส่วนถูกผลักให้เคลื่อนที่เป็นเกลียวไปยังขั้วโลก  เมื่ออนุภาคเหล่านี้
                       เคลื่อนที่เป็นเกลียวตามสนามแม่เหล็กโลกลงมาสู่ขั้วโลกถึงระดับความสูงที่มีชั้นบรรยากาศของ
                       โลกปกคลุม  (ภาพที่  2.9)  จะท าให้แก๊สในชั้นบรรยากาศแตกตัวและเรืองแสงเป็นแถบสว่าง


                       แถบสว่างเหล่านี้เกิดที่ระดับความสูงประมาณ  2,000  กิโลเมตร  มีลักษณะเป็นแถบสว่าง  มีความ
                       กว้างประมาณ 200 – 300 กิโลเมตร มีความชัดเจนมากที่สุดเมื่อเวลาเที่ยงคืน


                                                                 ลมสุริยะเมื่อเข้าสู่บรรยากาศโลก
                                    เขตการแผ่รังสีฟาน อัลเลน
                            ลมสุริยะ                              ท าให้เกิดปรากฏการณ์ออโรรา
                                                                                           สนามแม่เหล็ก












                                                                                    แกนขั้วภูมิศาสตร์

                        เขตการแผ่รังสีฟาน อัลเลน
                                                                   แกนขั้วโลกแม่เหล็ก
                                                     โลก


                         ภาพที่  2.9  สนามแม่เหล็กโลก




                                  แถบสว่างที่เกิดขึ้นบริเวณขั้วโลกเหนือ เรียกว่า แสงออโรร่าเหนือ (aurora borealis)
                       แถบสว่างที่เกิดขึ้นบริเวณขั้วโลกใต้   เรียกว่า   แสงออโรร่าใต้   (aurora   australis)


                       สนามแม่เหล็กโลกบริเวณผิวโลกไม่มีอิทธิพลต่อการเกิดปรากฏการณ์ออโรร่าด้วย  เหตุการณ์
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56