Page 47 -
P. 47
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
อุตุนิยมวิทยา 29
เมโซพอส จนถึงประมาณ 500 - 2,000 องศาเคลวิน ซึ่งขึ้นกับสภาวะของดวงอาทิตย์ขณะนั้นว่ามี
พลังงานแผ่กระจายออกมามากเพียงไร เนื่องจากบรรยากาศชั้นเทอร์โมสเฟียร์นี้เป็นบรรยากาศ
ชั้นนอกสุดที่มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นตามความสูงและแก๊สส่วนประกอบของอากาศแยกออกจากกันเป็น
ชั้นๆ นอกจากนี้บรรยากาศชั้นเทอร์โมสเฟี ยร์ยังท าหน้าที่เสมือนเป็นปราการด่านแรกในการ
ป้องกันรังสีคอสมิก รังสีเอกซ์ รังอัลตราไวโอเลตและอนุภาคต่างๆ ที่แผ่ออกมาจากดวงอาทิตย์ ซึ่ง
พลังงานจากอนุภาคและรังสีเหล่านี้ท าให้อะตอมของแก๊สส่วนประกอบของอากาศในชั้นต่างๆ ของ
บรรยากาศชั้นนี้แตกตัว โดยการสูญเสียอิเลคตรอนอิสระออกไปเป็นประจุไฟฟ้าลบและเกิดประจุ
ไฟฟ้าบวกบนอะตอมของแก๊สเหล่านี้ นักวิทยาศาสตร์จึงเรียกบางส่วนของบรรยากาศชั้นเทอร์โมส
เฟียร์นี้ว่า ไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere) บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์นี้อาจมีความสูงจากผิวโลก
ระหว่าง 60 - 1,040 กิโลเมตร
แก๊สในบรรยากาศชั้นนอกสุดประกอบด้วยอะตอมของฮีเลียมจากระดับความ
สูงประมาณ 1,100 - 3,500 กิโลเมตร จากนั้นเป็นอะตอมของแก๊สไฮโดรเจน อากาศในบรรยากาศ
ชั้นนอกสุดนี้เบาบางมากจนไม่สามารถกล่าวว่าบริเวณใดเป็นห้วงอวกาศ บริเวณใดยังคงเป็นชั้น
บรรยากาศ บริเวณรอยต่อระหว่างบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์และเอกโซสเฟียร์ เรียกว่า ไอโอโน
พอส (Ionopause) และบริเวณรอยต่อระหว่างเอกโซสเฟียร์และอวกาศ เรียกว่า เอกโซพอส
(Exopause) ซึ่งยังไม่สามารถก าหนดได้แน่ชัดว่าเป็นบริเวณใด เนื่องจากแก๊สฮีเลียมและแก๊ส
ไฮโดรเจนในบรรยากาศชั้นนี้เบาบางมากและฟุ้ งกระจายได้ไกลมากเพราะมีมวลน้อยมาก
เมื่อได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์กระตุ้นเพียงเล็กน้อยจะสามารถเคลื่อนที่ไปได้ไกลมาก
2.3 บรรยากาศและกลไกคุ้มครองโลก (Atmosphere and earth’s protection
mechanism)
ชั้นบรรยากาศที่ได้รับอิทธิพลจากดวงอาทิตย์มาก คือ บรรยากาศชั้นเมโซสเฟียร์ต่อเนื่องกับ
บรรยากาศชั้นเทอร์โมสเฟียร์ เนื่องจากโมเลกุลของอากาศบริเวณนี้ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์
จึงเกิดการแตกตัวเป็นประจุไฟฟ้ า ซึ่งเรียกบรรยากาศที่มีประจุไฟฟ้ านี้ว่า ไอโอโนสเฟียร์ ชั้น
บรรยากาศที่ได้รับอิทธิพลจากสนามแม่เหล็กโลก คือ บรรยากาศของโลกตั้งแต่ผิวดินจนถึง
บรรยากาศชั้นนอกสุดที่สนามแม่เหล็กโลกกระจายออกไปไม่ถึง สนามแม่เหล็กโลกมีค่าสูงมาก
บริเวณใกล้กับผิวโลกและมีค่าลดลงเมื่อระยะห่างจากผิวโลกออกไป บริเวณที่ชั้นบรรยากาศมี
สนามแม่เหล็กกระจายอยู่เรียกว่า แมกนีโตสเฟียร์ (Magnetosphere) รายละเอียดของกลไกในการ
เกิดบรรยากาศทั้งสองประเภทมีดังต่อไปนี้