Page 46 -
P. 46
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
28 บรรยากาศ
เมตร (0.18 ถึง 0.24 ไมครอน) ซึ่งท าลายพันธะโควาเลนต์ระหว่างโมเลกุลของแก๊สโอโซน พร้อม
กับคายพลังงานในช่วงของรังสีความร้อนออกมาบางส่วนและเกิดจากการแตกตัวของแก๊สโอโซน
เป็นโมเลกุลของแก๊สออกซิเจนหนึ่งโมเลกุลและอะตอมออกซิเจนหนึ่งอะตอม เมื่อได้รับรังสี
อัลตราไวโอเลตที่มีความยาวช่วงคลื่นระหว่าง 200 ถึง 320 นาโมเมตร (0.20 ถึง 0.32 ไมครอน) ซึ่ง
ท าลายพันธะโควาเลนต์ระหว่างโมเลกุลของแก๊สโอโซนพร้อมกับคายพลังงานบางส่วนออกมา
ในช่วงของรังสีความร้อนที่ความยาวช่วงคลื่น 9,500 นาโนเมตร (9.5 ไมครอน) บรรยากาศชั้นสตรา
โตสเฟียร์และเมโซสเฟียร์ เป็นบรรยากาศชั้นกลาง (middle atmosphere) ที่มีความส าคัญอย่างมาก
ในการปกป้องรังสีอัลตราไวโอเลตมิให้ผ่านเข้าสู่ผิวโลก และควบคุมไอน ้ามิให้สูญเสียหรือถ่ายโอน
จากบรรยากาศชั้นในผ่านบรรยากาศชั้นกลางออกไปยังบรรยากาศชั้นนอก เนื่องจากอุณหภูมิของ
อากาศในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์นี้เพิ่มขึ้นตามความสูง จึงท าให้อากาศในบรรยากาศชั้นนี้อยู่
ในสภาวะเสถียรตลอดเวลา กล่าวคือ อากาศค่อนข้างนิ่งไม่มีการลอยขึ้นหรือจมลงจากต าแหน่ง
เดิม โดยจะสามารถลอยขึ้นหรือจมลงได้เพียงเล็กน้อยแล้วจะเคลื่อนที่กลับสู่ต าแหน่งเดิมอีกครั้ง
3) เมโซสเฟียร์
บรรยากาศชั้นนี้เป็นชั้นบรรยากาศที่ต่อจากบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ ช่วง
ต้นของบรรยากาศชั้นนี้มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นตามความสูงจากประมาณ -50 องศาเซลเซียส ถึง
ประมาณ -80 องศาเซลเซียส (-173 องศาเคลวิน) ที่ระดับความสูงจากผิวโลกประมาณ 80 กิโลเมตร
ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างบรรยากาศชั้นเมโซสเฟียร์และบรรยากาศชั้นเทอร์โมสเฟียร์ เรียกบริเวณ
รอยต่อนี้ว่า เมโซพอส (Mesopause) แก๊สส่วนประกอบของบรรยากาศชั้นนี้ยังคงเป็นเนื้อเดียวกัน
มีสัดส่วนของแก๊สคงที่และมีปริมาณของแก๊สลดลงตามความสูงเช่นเดียวกันกับบรรยากาศชั้น
เทอร์โมสเฟียร์และบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ เนื่องจากบรรยากาศชั้นนี้มีอุณหภูมิลดลงตาม
ความสูง จึงเกิดการยกตัวของอากาศบริเวณตอนล่างของเมโซสเฟียร์ลอยขึ้นไปยังบรรยากาศ
ตอนบนของเมโซสเฟียร์ บรรยากาศชั้นนี้สงบเงียบปราศจากฝุ่นละอองและไอน ้า ความดันของ
อากาศบริเวณเมโซพอสประมาณ 0.01 มิลลิบาร์ หรือประมาณ 1 ใน 100,000 ของความดันอากาศที่
ผิวโลก ความดันของอากาศบริเวณตอนกลางของชั้นเมโซสเฟียร์ประมาณ 0.1 มิลลิบาร์ หรือ
ประมาณ 1 ใน 10,000 ของความดันอากาศที่ผิวโลก ความดันของอากาศบริเวณสตราโตพอสและ
ตอนล่างของเมโซสเฟียร์ประมาณ 1 มิลลิบาร์ หรือประมาณ 1 ใน 1,000 ของความดันอากาศที่ผิว
โลก
4) เทอร์โมสเฟียร์
บรรยากาศชั้นนี้เป็นบรรยากาศซึ่งมีลักษณะของแก๊สส่วนประกอบของอากาศ
แบ่งออกเป็นชั้นๆ ไม่เป็นเนื้อเดียวกันดังเช่นบรรยากาศชั้นกลางและบรรยากาศชั้นล่าง อุณหภูมิ
ของบรรยากาศชั้นนี้เพิ่มขึ้นตามความสูงจากประมาณ -100 องศาเซลเซียส (-173 องศาเคลวิน) ที่