Page 260 -
P. 260

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

               242   การตรวจวัดสภาพอากาศและการแปลความหมาย








               ตารางที่ 9.11 (ต่อ)
                ชนิดของเมฆ     ขนาด          รูปร่าง       เงา          โทนสี (ความสว่าง)   เนื่อภาพ
                                                                      visible   infrared
               นิมโบสเตรตัส   เป็นแผ่น มักมีขนาด  ติดต่อกันเป็นแผ่น  มีเงาเข้มกว่า   ขาวถึงขาวจัด  ขาวเรียบ   เรียบ
                          สัมพันธ์กับแนว  หรือเป็นแนว   สเตรโตคิวมิวรัส
                          ปะทะอากาศเย็นและ
                          บริเวณร่องมรสุมใน
                          เขตร้อน
               คิวมิวลัส   ก้อนเล็กๆ กระจาย  เป็นกลุ่มก้อน บางที  เงายอดขรุขระ   สีขาวจัด   สีขาวจัดเพราะ  เรียงตามยอด

                          เป็นบริเวณกว้างหรือ  ยาวเรียบตามชายฝั่ง  ช่วงที่เพิ่มขนาด  โดยเฉพาะ  ยอดเมฆมี  ทั่วเซอร์รัสที่
                          เป็นกลุ่ม      หรืออาจมีก้อน  มีเงาชัดเจนเป็น  ช่วงการเพิ่ม  อุณหภูมิต ่ากว่า  กระจายอยู่
                                         เดี่ยวๆ       เงาด้านตรงข้าม  ขนาด              ตอนบนของ
                                                       กับทิศของแสง                      กลุ่มเมฆหลักที่
                                                       จากดวงอาทิตย์                     มีฝนตกหนัก
                                                                                         และฟ้ าคะนอง
               ที่มา  :  ดัดแปลงจาก Xu et al. (1990)


                            ในสภาพอากาศโดยทั่วไปเมฆชนิดต่างๆ มักเกิดปะปนกันไปจากข้อมูลดาวเทียม


                            ลักษณะของเมฆจะท าให้ทราบถึงลักษณะอากาศที่เกิดขึ้น  ลักษณะอากาศในเขต
               ร้อนและเขตกึ่งร้อนที่สังเกตจากข้อมูลดาวเทียมดังนี้

                            1)  แถบลมพัดสอบเข้าหากันบริเวณเขตร้อน  (Intertropical  Convergence  Zone  :

               ITCZ) แถบลมพัดสอบเข้าหากันบริเวณเขตร้อนเกิดจากการพัดสอบเข้ามาปะทะกันของลมมรสุม

               และลมสินค้าบริเวณเส้นศูนย์สูตร ภาพจากข้อมูลดาวเทียมจะเป็นกลุ่มเมฆในบริเวณนี้ต่อกันเป็น

               แนวตะวันออก ตะวันตก เป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส คิวมูลัส หนาทึบ อาจมีขนาดกว้าง 2 ถึง 10 องศา
               ละติจูด และมีความยาวถึง 1,000 กิโลเมตร ซึ่งบางกลุ่มมีลักษณะวนเป็นก้นหอย (vortex) เข้าหา
               ศูนย์กลางประมาณร้อยละ 80 ของพายุใต้ฝุ่นในทะเลจีนเกิดจากลักษณะอากาศเช่นนี้


                            2)  ระบบการยกตัวในแนวตั้งของมวลอากาศขนาดระดับกลาง  (Mesoscale

               Conevective System : MCS) เป็นกลุ่มเมฆที่เกิดจากการยกตัวของอากาศรุนแรง จนเป็นกลุ่มหรือ
               เป็นแนว เช่น แนวลมกรรโชกแรง (squall lines) แนวเมฆเส้น (Arc cloud lines) เป็นต้น


                                แนวลมกรรโชกแรง (Squall Line) จะเป็นแนวที่ประกอบด้วย เมฆคิวมูลัส หรือ
               คิวมูโลนิมบัส เรียงเป็นแนวยาว เคลื่อนที่ไปพร้อมกับมีฝนตกและพายุฟ้าคะนอง


                                แนวเมฆเส้น  (Arc-Cloud  Lines)  เป็นกลุ่มเมฆมีขอบรูปโค้งชัดเจน  เคลื่อนที่

               จากพายุฝนฟ้ าคะนองที่ก าลังสลายตัว  อาจเกิดต่อเนื่องจาก  แนวลมกรรโชกแรงเป็นแบบก่อตัว
               แนวตั้งที่มีความหนา (deep convection)
   255   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265