Page 129 -
P. 129
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
4. วัสดุประเภทเซลล์แร่ (Mineral Cellular Material) เช่น
4.1 แคลเซียมซิลิเกต (Calcium Silicate)
4.2 เพอร์ไลท์ (Perlite) หินเพอร์ไลต์มีความหนาแน่นต่ํา และราคาถูกจึงถูกพัฒนานําไปใช้ในการค้า เช่น พลา
สเตอร์น้ําหนักเบา ส่วนผสมของปูนซีเมนต์ ฉนวน เป็นฝ้าเผดาน และตัวช่วยกรองในพืชสวน หินเพอร์ไลต์
ที่มีขนาดเล็กจะถูกนําไปใช้กับโรงหล่อเย็น เป็นส่วนผสมในปูนซีเมนต์ นําไปเป็นส่วนประกอบของเซรา
มิกส์ และยังใช้ในอุตสาหกรรมระเบิดด้วย
Perlite
4.3 เวอร์มิคูไลท์ (Vermiculite) เป็นวัสดุที่นํามาประยุกต์เป็นฉนวนกันความร้อนร่วมกับวัสดุต่างๆ เพื่อให้
เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละงานไป ทําจากแร่ไมกาซึ่งมีลักษณะเป็นเกล็ดๆ คล้ายกระจก โดยมีน้ําเป็น
ส่วนประกอบในกระบวนการผลิต อนุภาคของแร่ไมกาจะได้รับความร้อนอย่างรวดเร็วจนเกิดการล่อนเป็น
เกล็ด การใช้งานจะเป็นลักษณะของฉนวนกันความร้อนแบบเทบรรจุเข้าไปในบล็อคหรือโพรงผนัง ถ้า
นําไปผสมกับปูนซีเมนต์หรือทรายจะได้เป็นคอนกรีตเวอร์มิคูไลท์ที่มีสภาพการนําความร้อนต่ํากว่า
คอนกรีตปกติถึง 10 เท่า โดยทั่วไปจะผสมสารเคมีบางชนิด เพื่อใช้สําหรับพ่นกันไฟให้กับโครงสร้างเหล็ก
นิยมใช้ในยุโรปและอเมริกา
4.4 โฟมคอนกรีต (Foamed Concrete) คือ นวัตกรรมสําหรับงานก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีการผลิตเม็ดโฟม
พลาสติก (EPS Foam) ที่ผ่านกรรมวิธีเคลือบผิวภายนอกด้วยสารพิเศษ สําหรับใช้เป็นวัสดุหลักในการ
ผสมซีเมนต์ เพื่อทดแทนการนําหินมาใช้ เป็นส่วนผสมซีเมนต์อย่างทุกวันนี้ Foamed Concrete ยังมี
คุณสมบัติพิเศษในการเป็นฉนวนรักษาอุณหภูมิภายในอาคารและป้องกันความร้อนจากภายนอกอาคาร
เข้าสู่ภายในได้เป็นเลิศ ทําให้อาคารและบ้านเรือนที่สร้างจากซีเมนต์ที่มีส่วนผสมของ Foamed
Concrete นั้นเย็นกว่าและประหยัดพลังงานกว่าอาคารทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนั้นเม็ดโฟม
พลาสติก (EPS Foam) ยังมีคุณสมบัติในการดูดซับเสียงให้ผ่านเข้าสู่ตัวบ้านได้น้อยลงด้วย
126