Page 127 -
P. 127
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
1. น้ําหนักเบาและมีค่าความหนาแน่นน้อย
2. มีค่าการนําความร้อนต่ําคือการให้ความร้อนไหลผ่านฉนวนได้ยาก
3. มีความคงทนต่อแรงอัดและแรงดึงได้เป็นอย่างดี
4. มีอัตราการดูดซับความชื้นที่ต่ําหรือไม่มีเลยยิ่งเป็นการดีมาก
5. มีความสามารถต้านทานการกัดกร่อนได้ดี
6. เปลี่ยนรูปได้ยากและมีความคงตัวสูง
7. มีความทนต่อการติดไฟได้ดี (ไม่ติดไฟ)
8. สามารถใช้ได้กับอุณหภูมิที่กว้างหรือทุกระดับได้
9. ติดตั้งง่ายและสะดวก
ประเภทของฉนวนกันร้อน
ประเภทของฉนวนกันร้อนสามารถจําแนกได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ใช้หรือกําหนดขึ้นเพื่อสะดวกต่อการ
นําไปอ้างอิงถึง วิธีหนึ่งที่แบ่งฉนวนกันร้อน (Thermal Insulation) ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ฉนวนมวลสาร
2. ฉนวนสะท้อนความร้อน
นอกจากนี้ ยังสามารถแบ่งประเภทของฉนวนกันความร้อนตามชนิดของวัสดุพื้นฐาน (Basic Materials) ที่ใช้ในการ
ผลิตได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. วัสดุประเภทใยแร่ (Mineral Fibrous Material) เช่น
1.1 ใยหิน (Rock Wool) มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอุณหภูมิที่สูงมากๆ นิยมใช้กันอย่าง
กว้างขวางในโรงไฟฟ้า บอยเล่อร์ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ รวมไปถึงงานผนังทนไฟ Curtain Wall ใน
อาคาร และงานห้องบันทึกเสียงในสตูดิโอ
1.2 ใยแก้ว (Glass Fiber or Glass Wool) เหมาะสําหรับงานหลังคาโรงงาน งานอาคารพาณิชย์และงานที่พัก
อาศัย สามารถใช้ติดตั้งกับหลังคาทั้งหลังคาเหล็กรีดและหลังคากระเบื้องซีเมนต์ใยหิน
ฉนวนใยแก้ว
2. วัสดุประเภทเส้นใยธรรมชาติ (Organic Fibrous Material) เช่น
2.1 ไม้ (Wood)
2.2 ชานอ้อย (Cane)
2.3 ฝ้าย (Cotton)
2.4 ขนสัตว์ (Hair)
2.5 ใยสังเคราะห์ (Synthetic Fiber)
124