Page 16 -
P. 16
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
บทนํา 7
สมการอัตรานั่นเอง เนื่องจากโมเลกุลาริตีเปนจํานวนที่แนนอนของสารตั้งตนที่เขาทําปฏิกิริยากัน
จริงในขั้นตอนมูลฐานตางๆ ของกลไกหนึ่งๆ
สําหรับสารตางๆ ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนมูลฐาน ที่ไมใชผลิตภัณฑ (product) ของปฏิกิริยา จะ
เรียกวา สารมัธยันตร (intermediate) ซึ่งสารดังกลาวจะมีความวองไวตอปฏิกิริยา และอาจตรวจพบ
ไดทั้งนี้ขึ้นกับความเสถียรของสารและความวองไวของเครื่องมือหรือวิธีการในการตรวจวัด
ปฏิกิริยามูลฐานสามารถแบงออกไดเปน 3 ประเภท คือ ปฏิกิริยามูลฐานแบบโมเลกุลเดี่ยว
(elementary unimolecular reaction) ปฏิกิริยามูลฐานแบบโมเลกุลคู (elementary bimolecular
reaction) และปฏิกิริยามูลฐานแบบสามโมเลกุล (elementary termolecular or trimolecular reaction)
อยางไรก็ตามปฏิกิริยามูลฐานสวนใหญจะเปนแบบโมเลกุลเดี่ยวหรือแบบโมเลกุลคู
ตัวอยางของปฏิกิริยามูลฐานแบบตางๆ มีดังตอไปนี้
1.6.1 ปฏิกิริยามูลฐานแบบโมเลกุลเดี่ยว ซึ่งเกิดจากการสั่นของหนึ่งโมเลกุล เพื่อแตกตัว
หรือจัดเรียงตัวใหม ดังนั้นปฏิกิริยามูลฐานแบบโมเลกุลเดี่ยวจะมีโมเลกุลาริตีเปนหนึ่ง และมีอันดับ
เปนหนึ่ง เชน
A ⎯ →⎯ product(s)
H 2
C
ไดแก CH 2 CH 2 ⎯ →⎯ CH CH = CH 2
3
1.6.2 ปฏิกิริยามูลฐานแบบโมเลกุลคู เกิดจากคูของโมเลกุลมาชนกัน และมีการแลกเปลี่ยน
พลังงานระหวางอะตอมหรือกลุมของอะตอม ดังนั้นปฏิกิริยามูลฐานแบบโมเลกุลคูจะมีโมเลกุลาริตี
เปนสอง และมีอันดับเปนสอง เชน
2A ⎯ →⎯ product(s) หรือ A + B ⎯ →⎯ product(s)
ไดแก Br + H ⎯ →⎯ HBr + H
2
1.6.3 ปฏิกิริยามูลฐานแบบสามโมเลกุล เกิดจากการชนกันของ 3 โมเลกุล (เปนปฏิกิริยาที่
พบนอยมาก) ดังนั้นปฏิกิริยามูลฐานแบบสามโมเลกุลจะมีโมเลกุลาริตีเปนสาม และมีอันดับเปน
สาม เชน
3A ⎯ →⎯ product(s) หรือ A + B + C ⎯ →⎯ product(s) หรือ 2A + B ⎯ →⎯ product(s)