Page 15 -
P. 15
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1-10
Wild Fauna and Flora) เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2526 ซึ่งอนุสัญญามีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองพืชป่ามิ
ให้สูญพันธุ์ไปจากโลกโดยการควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการเพาะเลี้ยง
และขยายพันธุ์พืชป่านอกเหนือจากวิธีธรรมชาติให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าว จึงจ าเป็น ต้องตรา
พระราชบัญญัตินี้
วันที่ 8 สิงหาคม 2527 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติอ้อยและน ้าตาลทราย
พ.ศ. 2527ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 103 ก (ฉบับพิเศษ) ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2527
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มีความจ าเป็นต้องรักษาความ
มั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ และคุ้มครองรักษาผลประโยชน์ของชาวไร่อ้อยในด้านการผลิตและจ าหน่ายอ้อย
สมควรจัดระบบและควบคุมการผลิตและจ าหน่ายอ้อยและน้ าตาลทรายที่ผลิตจากอ้อยของชาวไร่อ้อย โดยให้ชาวไร่
อ้อยและเจ้าของโรงน้ าตาลทรายซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงเข้ามาร่วมมือกับทางราชการ ตั้งแต่การผลิตอ้อยไป
จนถึงการจัดสรรเงินรายได้จากการขายน้ าตาลทรายทั้งในและนอกราชอาณาจักรระหว่างชาวไร่อ้อยและ
เจ้าของโรงงานน้ าตาลทราย เพื่อให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ าตาลทรายเติบโตโดยมีเสถียรภาพและเกิดความเป็นธรรม
แก่ชาวไร่อ้อยเจ้าของโรงงานน้ าตาลทราย และประชาชนผู้บริโภค จึงจ าเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วันที่ 28 ตุลาคม 2542 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542
ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 105 ก ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2542
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติควบคุมยาง
พุทธศักราช 2481 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้ใช้บังคับมานานแล้ว บทบัญญัติต่างๆ ไม่เหมาะสมกับสภาพและความ
ต้องการในด้านการผลิต การค้า การส่งออก การน าเข้า การคัดและจัดชั้นยาง การควบคุมมาตรฐานและการบรรจุหีบ
ห่อยาง และเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ในฐานะสมาชิกขององค์การยางธรรมชาติ
ระหว่างประเทศ ข้อผูกพันตามสนธิสัญญารักษาเสถียรภาพของราคายางธรรมชาติ โครงการจัดตั้งตลาดร่วมของยาง
ธรรมชาติของสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ โครงการควบคุมและร่วมมือเรื่องมาตรฐานและการค้ายางของ
องค์การยางธรรมชาติระหว่างประเทศ และสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือเรื่องยางธรรมชาติแห่งสหประชาชาติ
สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยางเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจ าเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
วันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 118 ก ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริมให้มี
การปรับปรุงพันธุ์และพัฒนาพันธุ์พืช เพื่อให้มีพันธุ์พืชใหม่เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนา
ทางด้านเกษตรกรรม โดยการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจด้วยการให้สิทธิและความคุ้มครองตามกฎหมาย ตลอดจนเพื่อ
เป็นการอนุรักษ์ และพัฒนาการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์พืชป่า
เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล บ ารุงรักษา และใช้ประโยชน์พันธุ์พืชอย่างยั่งยืน จึงจ าเป็นต้อง
ตราพระราชบัญญัตินี้