Page 14 -
P. 14
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1-9
4.3 พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518
4.4 พระราชบัญญัติอ้อยและน้ าตาล พ.ศ.2527
4.5 พระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542
4.6 พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธ์พืช พ.ศ. 2542
วันที่ 23 มีนาคม 2507 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507
ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอนที่ 27 ก (ฉบับพิเศษ) ลงวันที่ 23 มีนาคม 2507
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติป้องกัน
โรคและศัตรูพืช พ.ศ. 2495 ได้บัญญัติให้อ านาจพนักงานเจ้าหน้าที่ท าการควบคุมและกักพืชได้ต่อเมื่อพืชที่
ได้น าเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นศัตรูพืชตามที่ก าหนดในกฎกระทรวง ซึ่งอาจจะท าให้โรคพืชต่าง ๆ ระบาด
แพร่หลายได้ในระหว่างน าพืชนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรก่อนที่จะมีการควบคุมและกักพืชไว้ไม่บังเกิดผลสม
ความมุ่งหมายที่จะป้องกันโรคและศัตรูพืชให้มีประสิทธิภาพตามข้อตกลงที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกร่วม
อยู่ในอนุสัญญาระหว่างประเทศสมควรที่จะขยายการควบคุมและกักพืชให้กว้างขวางออกไปอีกทั้งการ
น าเข้าหรือน าผ่านราชอาณาจักรไม่ว่าทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ เพื่อให้การป้องกันโรคและศัตรูพืช
ได้ผลสมตามเจตนา ฉะนั้น จึงจ าเป็นที่จะต้องยกเลิกพระราชบัญญัติป้องกันโรคและศัตรูพืช พ.ศ. 2495
และตราพระราชบัญญัติกักพืชขึ้นใหม่ใช้บังคับแทน
วันที่ 27 ธันวาคม 2509 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 ในราช
กิจจานุเบกษา เล่ม 83 ตอนที่ 117 ก ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2509
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วย
ยาสูบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ได้ใช้มาเป็นเวลานานถึง 20 ปี และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมถึง 2 ครั้ง ถึงกระนั้นก็ยังไม่
เหมาะสมกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าแสตมป์ยาสูบ ได้ก าหนดไว้ตามค่าน้ าเงินในสมัยนั้นและ
บทก าหนดโทษยังต่ ากว่าที่ควรอยู่มาก นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติที่ไม่เหมาะสมอีกหลายประการ จึงสมควร
ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยยาสูบให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2518 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518
ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 40 ก (ฉบับพิเศษ) ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2518
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎหมายว่าด้วย
พันธุ์พืชที่ใช้บังคับอยู่ยังไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากไม่สามารถควบคุมการขยายพันธุ์
พืชโดยวิธีอื่นนอกเหนือจากวิธีธรรมชาติและในการก าหนดความหมายของพันธุ์พืชยังไม่ตรงตามหลัก
วิชาการและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้มีการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช การรับรองพันธุ์พืช
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการคิด ค้น และปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ๆ อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนา
ประเทศ และเนื่องจากประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า
และพืชป่าที่ก าลังจะสูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of