Page 13 -
P. 13

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                                                                        1-8


                                  วันที่ 20 ตุลาคม 2482 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการชลประทานราษฎร์

                   พุทธศักราช 2482 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 ตอนที่ 53 ก ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2482

                                         เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากที่ดินส าหรับใช้เพื่อ
                   เกษตรกรรมเป็นจ านวนมากอยู่ห่างทางน้ าหรือแหล่งน้ า ไม่สามารถชักน้ าจากทางน้ าหรือแหล่งน้ ามาใช้เพื่อ

                   การประกอบเกษตรกรรมได้อย่างทั่วถึง สมควรให้สิทธิแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดินที่อยู่ห่างทางน้ าหรือ
                   แหล่งน้ าเหล่านั้น ท าทางน้ าผ่านที่ดินของผู้อื่นได้ จึงจ าเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

                                  วันที่ 22 กันยายน 2485 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง

                   พุทธศักราช 2485 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59 ตอนที่ 62 ก ลงวันที่ 22 กันยายน 2485
                                         เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติการ

                   ชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 ซึ่งประกาศใช้อยู่ในขณะนี้ ยังมีข้อความขาดตกบกพร่องอยู่หลายประการ

                   ไม่เหมาะสมแก่การด าเนินงาน และการควบคุมการชลประทานหลวง ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้ขยายตัวออกไปอย่าง
                   กว้างขวาง จึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นการเหมาะสมแก่กาลสมัยยิ่งขึ้น

                                  วันที่ 27 มีนาคม 2505 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคันและคูน ้า พ.ศ. 2505 ใน

                   ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 79 ตอนที่ 29 ก ลงวันที่ 27 มีนาคม 2505
                                         เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติคันนาและ

                   คูนา พุทธศักราช 2484 ไม่มีผลตามเจตนาที่ตรากฎหมายนั้นขึ้นไว้ เพราะในปัจจุบันนี้การเกษตรกรรมบาง
                   ท้องที่ไม่ได้ท านาอย่างเดียว แต่มีทั้งการท าไร่และการท านาในทุ่งเดียวกันในเวลาเดียวกันฉะนั้นจึงจ าเป็นที่

                   จะต้องตราพระราชบัญญัติคันและคูน้ าขึ้นใหม่ แทนพระราชบัญญัติคันนาและคูนาที่จะยกเลิกไป

                                  วันที่ 29 กรกฎาคม 2520 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติน ้าบาดาล พ.ศ.  2520
                   ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 94 ตอนที่ 69 ก (ฉบับพิเศษ) ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2520

                                         เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันนี้ มีการ
                   เจาะน้ าบาดาลและการใช้น้ าบาดาลกันอย่างกว้างขวาง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต แต่ยังไม่มี

                   การควบคุมให้เป็นไปโดยถูกต้องตามหลักวิชาการ จนปรากฏว่าแหล่งน้ าบาดาลบางแห่งเกิดขาดแคลนหรือ

                   เสียหายซึ่งถ้าปล่อยให้มีสภาพเช่นนี้อยู่ต่อไป อาจเกิดความเสียหายต่อทรัพยากรของชาติหรือท าให้
                   สิ่งแวดล้อมเป็นพิษหรือเป็นอันตรายแก่ทรัพย์สินหรือสุขภาพของประชาชนสมควรมีมาตรการป้องกันอัน

                   เหมาะสม เพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนจึงจ าเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น


                   4. กฎหมายว่าด้วยพืช


                           กฎหมายว่าด้วยพืชที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรมี 6 ฉบับ ดังนี้
                                  4.1 พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507

                                  4.2 พระราชบัญญัติยาสูบ  พ.ศ. 2509
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18