Page 10 -
P. 10

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                                                                                                        1-5


                                         เหตุผลในการประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินคือ ในขณะนี้ได้มีกฎหมายว่าด้วย

                   ที่ดินอยู่หลายฉบับ สมควรน ามาประมวลไว้ในที่เดียวกัน  และปรับปรุงเสียใหม่ให้รัฐได้ด าเนินการจัดที่ดิน

                   โดยกว้างขวาง เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน
                                         (หมวด 2 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินเป็นการจัดที่ดินเพื่อประชาชนที่เกี่ยวข้อง

                   กับที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
                                  วันที่ 19 มิถุนายน 2511 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ

                   พ.ศ. 2511 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอนที่ 55 ก (ฉบับพิเศษ) ลงวันที่ 19 มิถุนายน  2511

                                         เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อ
                   การครองชีพ พุทธศักราช 2485 และพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2504 ที่ใช้อยู่

                   ในปัจจุบันนี้ไม่เหมาะสมกับกาลสมัย และต้องการน าบทบัญญัติที่ใช้ร่วมกันได้ ซึ่งเคยก าหนดแยกไว้ในพระ

                   ราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดตั้งนิคมสร้างตนเอง หรือนิคมกสิกรรม และนิคมเกลือ ในรูปสหกรณ์ต่างๆ นั้น มา
                   รวมไว้ในพระราช-บัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพฉบับใหม่นี้เสียด้วยกัน ส่วนพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการ

                   จัดตั้งนิคมที่จะมีขึ้นในโอกาสต่อไปนั้น ต้องการให้มีแต่เพียงการก าหนดประเภทนิคมและแผนที่ก าหนดแนว

                   เขตที่ดินที่จะจัดตั้งนิคมเท่านั้น
                                  วันที่ 18 กันยายน 2517    ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อ

                   เกษตรกรรม พ.ศ. 2517 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 91 ตอนที่ 155ก (ฉบับพิเศษ) ลงวันที่ 18 กันยายน 2517
                                         เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรส่งเสริม

                   เกษตรกรรมของประเทศให้เจริญก้าวหน้า และส่งเสริมให้เกษตรกรรายได้เพิ่มขึ้นและมีมาตรฐานการครอง

                   ชีพสูงขึ้น ในการนี้สมควรด าเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเสียใหม่ เพื่อให้ที่ดินทุกแปลงได้รับประโยชน์
                   จากโครงการชลประทานและการสาธารณูปโภคโดยทั่วถึง และเพื่อให้เกษตรกรได้มีที่ดินของตนเองส าหรับประกอบ

                   อาชีพเกษตรกรรมซึ่งจะมีผลช่วยให้ฐานะในทางเศรษฐกิจของประเทศและของเกษตรกรมั่นคงขึ้น จึงจ าเป็น ต้อง
                   ตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น

                                  วันที่ 5  มีนาคม 2518  ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อ

                   เกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 92 ตอนที่ 54 ก (ฉบับพิเศษ) ลงวันที่ 5 มีนาคม 2518
                                         เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ ประเทศไทยเป็นประเทศ

                   เกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพในการเกษตรที่ดินจึงเป็นปัจจัยส าคัญและเป็นรากฐานเบื้องต้นของ

                   การผลิตทางเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันปรากฏว่าเกษตรกรก าลังประสบความเดือดร้อนเนื่องจากต้องสูญเสีย
                   สิทธิในที่ดินและกลายเป็นผู้เช่าที่ดิน ต้องเสียค่าเช่าที่ดินในอัตราสูงเกินสมควร ที่ดินขาดการบ ารุงรักษา

                   จึงท าให้อัตราผลิตทางเกษตรกรรมอยู่ในระดับต่ า เกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรมและเสียเปรียบจากระบบ
                   การเช่าที่ดินและการจ าหน่ายผลิตผลตลอดมา ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะความยุ่งยากทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม

                   การปกครองและการเมืองของประเทศเป็นอย่างมาก จึงเป็นความจ าเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องด าเนินการแก้ไข
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15