Page 149 -
P. 149
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
13-28
สถานการณ์หมดความจ าเป็นไปประกอบการด าเนินการด้วย ทั้งนี้ อัตราเงินสงเคราะห์ดังกล่าว ให้มีผลใช้
บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2546
วันที่ 8 เมษายน 2546 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอเรื่อง ปัญหาราคา
น้ ามันปาล์มตกต่ า และการลักลอบน าน้ ายางข้นออกนอกประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาน้ ามันปาล์มใน
ประเทศ และท าให้รัฐสูญเสียเงินสงเคราะห์ (Cess) ที่พึงเรียกเก็บจากการจ าหน่าย รวมทั้งกระทบต่อการจัด
จ าหน่ายยางพาราในรูปบริษัทร่วมทุนในภาพรวมด้วย จึงขอให้กระทรวงพาณิชย์รับเรื่องนี้ไปด าเนินการ
แก้ไขปัญหาร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส านักงานต ารวจแห่งชาติ และ
หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วน โดยอาจพิจารณาจัดตั้งเป็นคณะกรรมการเฉพาะกิจ (ad hoc
committee) ขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อท าหน้าที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ให้เชิญภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงท าความ
เข้าใจและขอความร่วมมือในการด าเนินการด้วย และหากภาคเอกชนรายใดฝ่าฝืนและหลีกเลี่ยง ให้
พิจารณาด าเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจังและเคร่งครัด เนื่องจากความผิดเกี่ยวกับการลักลอบหนี
ศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เป็นความผิดพื้นฐานตามมาตรา 3 (7) แห่งพระราชบัญญัติป้องกัน
และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 จึงให้ด าเนินการตามกฎหมายดังกล่าวด้วย
วันที่ 28 เมษายน 2546 (นัดพิเศษ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เสนอขอจัดสรรเงินยืมปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จ านวน 15 ล้านบาท ให้กรมปศุสัตว์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อด าเนินการตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ ก าหนดช าระคืน
ภายในเดือนกรกฎาคม 2546 ตามนัยมติคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ครั้งที่ 5/2546 เมื่อวันที่
11 เมษายน 2546 ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีเห็นว่า การระบายไข่ไก่ออกไปต่างประเทศโดยเร็ว จะมีส่วนช่วยให้
ปัญหาไข่ไก่ล้นตลาดและมีราคาตกต่ า คลี่คลายไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการให้ความช่วยเหลือด้าน
มนุษยธรรมแก่ประเทศต่างๆ ในช่วงเวลานี้ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ พิจารณาความเหมาะสมที่จะสนับสนุนให้ส่งไข่ไก่รวมไปด้วย
วันที่ 28 เมษายน 2546 (นัดพิเศษ) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอการ
พิจารณาทบทวนแนวนโยบายการด าเนินการเกี่ยวกับยางพาราให้ชัดเจน เหมาะสมกับสถานการณ์และ
ข้อเท็จจริงในปัจจุบันและสอดคล้องกับแนวโน้มในอนาคตโดยต้องพิจารณาอย่างเป็นระบบและครบวงจร
และเป็นที่เข้าใจให้ถูกต้องตรงกันในประเด็นต่างๆ ได้แก่ (1) การขยายพื้นที่การเพาะปลูกยางพาราของไทย
ส่วนหนึ่งเพื่อทดแทนของเดิมและเป็นไปเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตยางพารา เพื่อรองรับความต้องการวัตถุดิบ
ยางพาราส าหรับใช้ในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ภายในประเทศในอนาคต และโดยที่การปลูกยางพาราจนกว่า
ผลผลิตจะออกสู่ตลาดได้ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 6-7 ปี ดังนั้นจึงไม่ส่งผลกระทบต่อการก าหนดโควตาการ
ส่งออกยางพาราของไทยไปยังตลาดโลกตามข้อตกลงในการจัดตั้งบริษัทรวมทุนยางพารากับประเทศ
มาเลเซียและอินโดนีเซียแต่อย่างใด และประเทศไทยยังคงยึดมั่นและปฏิบัติตามพันธกรณีต่าง ๆ ตาม
ข้อตกลงดังกล่าวทุกประการ และ (2) การขยายพื้นที่การเพาะปลูกยางพาราดังกล่าว มุ่งส่งเสริมให้