Page 141 -
P. 141

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                                                                                      13-20



                   คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2545 ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง  และกระทรวง

                   อุตสาหกรรม  ร่วมกันพิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนในการสนับสนุนผู้ประกอบการแปรรูปไม้ยางพารา  และ
                   ผลิตเป็นสินค้าส่งออก รวมทั้งเป็นการป้องกัน  การส่งออกไม้ยางพาราไปต่างประเทศเพื่อผลิตสินค้ามา

                   แข่งขันกับประเทศไทย นั้น  เพื่อมิให้ผู้ประกอบการเกี่ยวกับเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา  ตลอดจนเกษตรกรผู้

                   ปลูกไม้ยางพาราในประเทศได้รับผลกระทบ  ส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนควรพิจารณา
                   ทบทวนแนวทางการส่งเสริมการลงทุน  โดยไม่ควรให้การส่งเสริมการลงทุนแก่ผู้ประกอบการต่างชาติที่เข้า

                   มาผลิตและส่งไม้ยางพาราแปรรูปไปยังบริษัทแม่ในต่างประเทศเพิ่มขึ้นจากที่มีอยู่เดิม
                           วันที่  17 กันยายน 2545 คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบแผนเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิรูปที่ดิน

                   ระยะที่ 3  (พ.ศ.  2545-2549)  ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรอง

                   เรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5    ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์  อินทรวิทยนันท์)  เป็นประธาน
                   กรรมการฯ ที่อนุมัติหลักการแผนเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิรูปที่ดิน ระยะที่ 3  (พ.ศ.  2545-2549)  โดยให้

                   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเร่งรัดด าเนินการแก้ไข
                   พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509  และพระราชบัญญัติการปฏิรูป

                   ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 เพื่อรวมกองทุนที่ดินกับกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

                                  ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม) พิจารณา
                   ด าเนินการเตรียมการล่วงหน้าก่อนการรวมกองทุนจะแล้วเสร็จ  โดยจัดท าแผนงานพัฒนาการเกษตรและ

                   การปฏิรูปที่ดินอย่างบูรณาการให้มีการช่วยเหลือครบวงจรทั้งระบบ เช่น แหล่งน้ า การตลาด เพื่อให้การ

                   ด าเนินงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                           วันที่ 25 กันยายน 2545 (นัดพิเศษ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการของโครงการปรับปรุง
                   พันธุ์  (ยางพารา) เป้าหมาย 350,000 ไร่ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ  ส าหรับงบประมาณ

                   ค่าใช้จ่ายส ารองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะใช้ด าเนินการโครงการฯ  ในระยะเร่งด่วน จ านวน 300 ล้านบาท
                   ให้กระทรวงเกษตรฯ  ตกลงในรายละเอียดกับส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม

                   แห่งชาติ  และส านักงบประมาณแล้ว ให้ด าเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้  ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดตาม

                   ดูแลการใช้พันธุ์ยางพาราที่จะน ามาปลูกแทนต้นยางเก่าที่โค่น ต้องเป็นสายพันธุ์ที่ดี เหมาะสม และให้ผลผลิตสูงด้วย
                           วันที่ 15 ตุลาคม 2545 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่ส านักงานสถิติแห่งชาติรายงานผลการ

                   ส ารวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับนโยบายแก้ปัญหาราคายางพารา โดยสอบถามประชาชนอายุ 18
                   ปีขึ้นไปที่อยู่ในกรุงเทพมหานครและภาคใต้ รวมทั้งสิ้น  6,480 คน สรุปได้ว่า ประชาชนที่ทราบเรื่องการ

                   จัดตั้งบริษัทร่วมทุนยาง 3 ประเทศ  และการจัดตั้งเมืองยาง มีประมาณร้อยละ 52.9 และร้อยละ 36.6

                   ตามล าดับ โดยประชาชนในภาคใต้ทราบนโยบายทั้ง 2 เรื่องมากกว่าประชาชนในกรุงเทพฯ และเกษตรกรผู้
                   ปลูกยางจะทราบนโยบายดังกล่าวมากกว่าผู้ที่ประกอบอาชีพอื่นๆ  โดยประชาชนที่ทราบนโยบายการ

                   แก้ปัญหาราคายาง ร้อยละ 86.4 เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว และร้อยละ 67.8 ต้องการให้ด าเนินการทั้ง

                   สองเรื่อง  ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยมีเพียงร้อยละ 2.2  โดยภาคใต้ผู้ที่เห็นด้วยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 91.9
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146