Page 67 -
P. 67

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                             62




                 ก้ามหนีบ (chela) ใต้ท้องมีขาว่ายนํ้า (swimming leg หรือ pleopod) อยู่ 5

                 คู่  นอกจากจะทําหน้าที่ในการว่ายนํ้าแล้ว กุ้งตัวเมียยังใช้ทําหน้าที่ยึดเกาะไข่
                 ที่ได้รับการผสมจากนํ้าเชื้อตัวผู้ และเป็นที่ฟักไข่อีกด้วย ปล้องสุดท้ายเป็น

                 ส่วนของหางทําหน้าที่คล้ายหางเสือเรือ ประกอบด้วยแผ่นแบนอยู่ 2 ข้าง
                 (uropod) ปลายหางแหลมและแข็ง เรียกว่า telson (คณะประมง, มปป)

                              การวัดขนาดตัวอย่างกุ้ง จะวัดความยาวเปลือกคลุมหัว (carapace
                 length : CL) ซึ่งเป็นการวัดความยาวตั้งแต่ร่องโคนก้านตา จนถึงขอบท้าย

                 ทางด้านบนของเปลือกคลุมหัว (Carpenter and Niem, 1998b)

                       กุ้งมีเพศแยกเป็นตัวผู้และตัวเมีย เมื่อตัวเมียลอกคราบและเจริญ
                 เต็มวัยแล้ว และหลังลอกคราบใหม่ ๆ ตัวผู้จะเข้าผสมพันธุ์โดยฝากนํ้าเชื้อไว้

                 กับตัวเมีย เมื่อไข่เจริญเต็มที่แล้วจะไหลผ่านออกจากรังไข่มาผสมกับนํ้าเชื้อ

                 ตัวผู้ที่ฝากไว้  ไข่จะฟักออกเป็นแพลงก์ตอน (ตัวอ่อนระยะแรก) ว่ายนํ้าอิสระ
                 และลอกคราบอีกหลายครั้งจนเปลี่ยนเป็นกุ้งขนาดเล็กและจมลงสู่พื้นทะเล

                 เติบโตเป็นตัวเติมวัยต่อไป














                                                  ที่มา : Carpenter and Niem (1998b)
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72