Page 65 -
P. 65
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
60
วงศ์ Balanidae รูปร่างคล้ายกรวย
ตัดเล็กๆ ร่างกายไม่
แบ่งเป็นปล้องชัดเจน
ตัวเพรียงหินมีการ
สร้างเปลือกเป็นแผ่น
5 mm หินปูน (calcareous
plate) ออกมาช่วย
Balanus sp. ยึดติดอยู่กับที่และ
ห่อหุ้มร่างกายเอาไว้ ทําให้สามารถอาศัยอยู่บนบกได้เป็นเวลานาน ตรงกลาง
ตัวมีแผ่นหินปูน 2 แผ่นประกบกัน โดยแผ่นทั้งสองนี้สามารถเคลื่อนไหวได้
เพื่อปิดเปิดให้รยางค์ของอกออกมาโบกจับอาหาร เพรียงหินส่วนใหญ่อาศัย
อยู่ริมชายฝั่งทะเลและยังพบได้ในป่าชายเลน (Paterson et al., 2004) ตัว
อ่อนของเพรียงหินที่มีอยู่ปริมาณมาก ทําให้เกิดปัญหาต่อการเพาะเลี้ยงหอย
นางรมและหอยแมลงภู่ โดยกองหินที่ชาวประมงใช้ล่อลูกหอยนางรมหรือ
หลักไม้ล่อลูกหอยแมลงภู่ให้มาเกาะ ถูกตัวอ่อนของเพรียงหินลงเกาะแย่ง
พื้นที่เสียก่อน เพรียงหินที่ลงเกาะกับตัวอ่อนของพันธุ์ไม้โกงกางบริเวณป่า
ชายเลนมีผลทําให้ต้นอ่อนล้ม ไม่สามารถเจริญขึ้นเป็นต้นใหญ่ได้ นอกจากนี้
เพรียงหินยังเกาะตามท้องเรือประมงหรือเรือเดินทะเลทําให้เรือแล่นไปได้ช้า