Page 64 -
P. 64

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                             59




                         สําหรับแมงดาที่พบในป่าชายเลนคลองกําพวน คือ  แมงดาจาน


                 (Tachypleus gigas) ซึ่งเป็นแมงดาขนาดใหญ่ มีลักษณะเด่นคือ หางเป็นสัน
                 แหลม    มีรูปหน้าตัดของหางเป็นรูปสามเหลี่ยม จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
                 แมงดาหางเหลี่ยม ซึ่งมี carapace  ค่อนข้างเรียบและมีขนแข็งอยู่บน

                 carapace น้อยมาก


                         แมงดาทะเล กินหอย ไส้เดือน สัตว์ขนาดเล็กอื่นๆ และสาหร่ายเป็น
                 อาหาร  ช่วงเวลาผสมพันธุ์แมงดาตัวผู้จะเกาะหลังตัวเมียอย่างแน่นเพื่อรอ

                 การตกไข่  แมงดาทะเลจะผสมพันธุ์และขุดหลุมเพื่อวางไข่บนทรายหาด และ

                 นิยมจะผสมพันธุ์กันเป็นกลุ่มใหญ่  ซึ่งจะผสมพันธุ์ในวันที่พระจันทร์เต็มดวง

                 ในบริเวณนํ้าตื้นๆ บริเวณนํ้าขึ้นนํ้าลง  โดยตัวผู้จะเกาะอยู่บนหลังตัวเมียเผื่อ

                 รอปล่อยสเปิร์มใส่ไข่ที่ตัวเมียปล่อยลงในทราย  ตัวอ่อนที่ผสมแล้วจะลอก

                 คราบหลายครั้งก่อนจะกลายเป็นตัวเติมวัย สําหรับแมงดาบางชนิด เช่น
                 แมงดาถ้วย (Carcinoscorpius  rotundicauda) อาจมีพิษในบางฤดูกาล

                 เนื่องจากมันกินอาหารที่เป็นพิษเข้าไป หากคนจับมากินอาจถึงตายได้ (จักร

                 กริชและคณะ, 2550)

                         เลือดของแมงดาทะเล มีทองแดงผสมอยู่เป็นจํานวนมาก มีรงควัตถุ

                 พวก hemocyanin และมี amebocyte ซึ่งทําหน้าที่ให้เลือดตกตะกอน  เลือด

                 ของแมงดาทะเล สามารถนําไปสกัดเป็นสารที่เรียกว่า Limulus amoebocyte

                 lysate (LAL) ได้  สารดังกล่าวสกัดได้มาจากเลือดของแมงดาชนิด Limulus

                 polyphemus และ Tachypleus tridentatus  สาร LALนี้มีคุณสมบัติช่วยใน

                 การตรวจวินิจฉัยโรคจากการติดเชื้อราบางชนิดได้ เช่น เชื้อรา Aspergillus

                 spp. เป็นต้น (กัญญา, 2554)
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69