Page 72 -
P. 72

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


                                             67




                        ภายในจอมหอบจะมีรู ซึ่งเป็นทางเข้าออกหลายทาง โดยรูดังกล่าว


                จะมีขนาดเล็กและใหญ่สลับกันไป และอาจเชื่อมต่อกับจอมหอบอื่นๆ ใน

                บริเวณใกล้เคียง ที่ก้นรูจะแยกออกเป็นแขนงสลับซับซ้อนและมีแอ่งพักซึ่งมี

                นํ้าขังเป็นที่อยู่ของแม่หอบ  ปากรูกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร จอมหอบจะ

                มีความสูงโดยเฉลี่ยจากระดับพื้นดินประมาณ 0.5-1.5 เมตร ความลึกของรัง

                แม่หอบที่ขุดได้ วัดจากระดับพื้นดินประมาณ 1-2 เมตร ภายในรังมีสัตว์ชนิด

                ต่างๆ อาศัยอยู่ เช่น แมงมุม กุ้งดีดขัน  ปูแสมก้ามม่วง แม่หอบน้อย เป็นต้น

                ในประเทศไทยพบแม่หอบเฉพาะในป่าชายเลนทางภาคใต้  โดยเฉพาะ

                ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน เป็นสัตว์นํ้าที่ไม่นิยมนํามาบริโภค



                   ความสูง (เมตร)                                 ปากรู
                        1.0

                    0.5                                           รู


                     0.0                                          ระดับพื้นดิน

                    -0.5


                    -1.0

                                                                 แอ่งพัก
                                                               ภาพโดย อานันท์ สุขใส

                       การที่ได้ชื่อในภาษาไทยว่า "แม่หอบ”  เนื่องจากมีความเชื่อว่า เนื้อของ

                แม่หอบสามารถรักษาอาการหอบหืดได้ จึงนิยมนํามาเผาไฟรับประทานกัน

                 ในอดีต
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77