Page 32 -
P. 32

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                                                                                               บทที่ 5




                                         เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์ขั้นพื้นฐาน





                      การปรับปรุงพันธุ์มีหลายวิธี ตั้งแต่วิธีที่ง่ายไปจนถึงวิธีที่สลับซับซ้อนมากขึ้น นักปรับปรุงพันธุ์จ าเป็นต้อง

               เรียนรู้เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์ขั้นพื้นฐานก่อน ดังต่อไปนี้

               1. การคัดเลือกรวมแบบดูลักษณะภายนอก (phenotypic mass selection)

                      เมื่อเริ่มต้นปรับปรุงประชากรใหม่ๆ ซึ่งยังมีความหลากหลายทางพันธุกรรมสูง พืชแต่ละต้นมีลักษณะ

               แตกต่างกัน ทั้งความสูงและลักษณะทางสัณฐาน (Morphology)  และภาพลักษณ์ที่มองเห็นได้ (Phenotype)

               ดังนั้น นักปรับปรุงพันธุ์จึงสามารถเลือกคัดเอาเฉพาะต้นที่ต้องการ ฝักที่ต้องการไว้ท าพันธุ์เพาะปลูกต่อไป อย่างไร
               ก็ตามในทางปฏิบัติ ควรด าเนินการเลือกคัดต้นพืชตั้งแต่อยู่ในแปลงใหญ่ การด าเนินงานมีเป็นขั้นตอนดังนี้

                      1.1 อาจด าเนินการในแปลงปลูกขยายพันธุ์ หรือแปลงปลูกเพื่อการปรับปรุงพันธุ์โดยเฉพาะก็ได้ ขั้นแรก

               ท ากรอบของแปลงปลูกที่จะด าเนินการคัดเลือก โดยให้มีขนาดใหญ่และจ านวนต้นมากพอควร ในแปลงขนาดพื้นที่
               ประมาณครึ่งไร่ ซึ่งจะมีจ านวนต้นประมาณ 4000 ต้น อาจด าเนินการคัดเลือกในระยะที่ต้นข้าวโพดเริ่มออกฝัก

               โดยท าเครื่องหมายต้นที่ได้รับการคัดเลือกไว้ประมาณ 800 ต้น อาจใช้สีพ่นหรือติดป้ายไว้ก็ได้ ควรกระจายต้นที่

               ได้รับการคัดเลือกมากพอควร เพื่อเลี่ยงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
                      1.2 การเลือกคัดขั้นสุดท้าย อาจกระท าในตอนเก็บเกี่ยว ซึ่งสามารถดูลักษณะฝักที่ดี จากต้นที่คัดเลือกไว้

               ประมาณ 400 ฝัก (เลือกไว้ร้อยละ 10) กะเทาะเมล็ดรวมกันไว้
                      1.3 น าเมล็ดที่กะเทาะรวมกันไว้นั้น ไปปลูกในฤดูต่อไปในแปลงใหญ่ และก าหนดกรอบพื้นที่เพื่อการ

               คัดเลือกประมาณครึ่งไร่ และด าเนินงานการเลือกคัดเหมือนเดิม จนได้พันธุ์ผสมรวมใหม่ การด าเนินการคัดเลือก

               แบบนี้ อาจกระท าอย่างต่อเนื่องประมาณ 3-4 ครั้ง ก็อาจได้พันธุ์ที่มีความเสถียรพอสมควร







                                                               ภาพที่ 5.1   แสดงวิธีการคัดเลือกรวมแบบธรรมดา
                                                               (phenotypic mass selection) โดยก าหนดกรอบที่ท าการ
                                                               คัดเลือกต้นพืชในแปลงใหญ่ คัดเลือกต้นที่มีลักษณะดีในแต่

                                                               ละแถวและท าเครื่องหมายไว้








                                                                                                           31
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37