Page 37 -
P. 37
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 6
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดกัวเตมาลา
(พระพุทธบาท 5)
ในปี พ.ศ. 2494 กรมวิชาการเกษตร หรือกรมกสิกรรมในสมัยนั้น ได้น าเข้าข้าวโพดพันธุ์กัวเตมาลา
(Tiquisate Golden Flint) และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอย่างแพร่หลาย (อ าพล เสนาณรงค์ 2517) ด้วยความ
ร่วมมือจากองค์กร “ยูซ่อม” ของสหรัฐอเมริกา Mr. Howard Ream ซึ่งเป็นที่ปรึกษาทางการเกษตรประจ า
ประเทศไทย ได้น าข้าวโพดไร่พันธุ์ C-110 (Tiguisate Yellow Flint) เข้ามาจากประเทศอินโดนีเซีย ด้วยความ
ร่วมมือของ Dr. I.E. Melhus ที่ปรึกษาทางการเกษตรของสหรัฐที่ประจ าอยู่ที่นั่น ข้าวโพดพันธุ์นี้ได้รับการทดลอง
ปลูกในที่ต่างๆในประเทศไทย ผลการทดลองจากเกษตรกลางบางเขน กรุงเทพฯ ทับกวาง สระบุรี ท่าพระ
ขอนแก่น และจากสุรินทร์ ปรากฏว่า ข้าวโพดพันธุ์นี้เจริญเติบโตให้ผลผลิตค่อนข้างดี เหมาะสมกับสภาพ
ภูมิอากาศของประเทศไทย
ข้าวโพดพันธุ์กัวเตมาลา เป็นพันธุ์ผสมเปิด (open-pollinated) เป็นประเภทหัวแข็ง เมล็ดมีสีเหลืองแกม
แดง ซึ่งเป็นลักษณะที่ตรงกับความต้องการของตลาด กรมกสิกรรม (กรมวิชาการเกษตรในปัจจุบัน) ได้เริ่มส่งเสริม
ให้เกษตรกรปลูกในปี พ.ศ. 2496-2497 และได้มีการแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 กรมกสิกรรม
ได้จัดตั้งสถานีกสิกรรมพระพุทธบาทขึ้น ในนิคมสร้างตนเองพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี มีบทบาทในการ
ขยายพันธุ์ข้าวโพดและด าเนินงานวิจัยพืชไร่
งานวิจัยข้าวโพด เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในปี พ.ศ. 2503 เมื่อ ม.จ.จักรพันธุ์ เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ อธิบดีกรม
กสิกรรมได้เชิญมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์มาร่วมโครงการข้าวโพด มูลนิธิฯได้ส่ง Dr. E.J. Wellhausen และ Dr. E.W.
Sprague ที่มีประสบการณ์ในลาตินอเมริกาและประเทศก าลังพัฒนาอื่นๆ เข้ามาช่วยพัฒนาโครงการข้าวโพดใน
ประเทศไทย ต่อจากนั้น หลังจากมูลนิธิฯได้ย้ายส านักงานจากอินเดียมาอยู่ในประเทศไทย จึงเกิดมีความร่วมมือใน
โครงการข้าวโพดขึ้น ระหว่างกรมกสิกรรม กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิร๊อกกี้
เฟลเลอร์ ดังที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ 1
ข้าวโพดพันธุ์นี้สามารถปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมของไทย มีลักษณะต้นสูงประมาณ 240-300 ซม. มี
ต าแหน่งฝักสูงจากพื้นดิน 120-150 ซม. มีฝักค่อนข้างสั้น เมล็ดหัวแข็งสีเหลืองเข้ม เปลือกหุ้มฝักดี และมีความ
ต้านทานต่อหนอนเจาะรากดี มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 110-120 วัน ในปีพ.ศ. 2504 โครงการปรับปรุงพันธุ์
ข้าวโพดของกรมกสิกรรมในสมัยนั้น ได้ใช้พันธุ์นี้เป็นพันธุ์พื้นฐานและเริ่มการปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้น โดยวิธีการ
คัดเลือกรวมที่เรียกว่า stratified mass selection การพัฒนาพันธุ์ได้กระท าอย่างต่อเนื่องที่สถานีทดลองพืชไร่
พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ดังนั้น พันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงจึงได้รับการตั้งชื่อเป็นพันธุ์ “พระพุทธบาท”
จนกระทั่งได้พันธุ์พระพุทธบาท 5 ในปี พ.ศ. 2509 และได้รับการขยายพันธุ์ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกใน
36