Page 98 -
P. 98

โครงการพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี



                               สัทวิทยา : การวิเคราะหระบบเสียงในภาษา                                                           บทที่ 9 ทฤษฎีโครงสรางการเนนพยางค  91



                                 จากแผนภูมิภาพที่ 9.1  นี้ เราสามารถอธิบายไดวาการที่สระมักจะทําหนาที่เปนแกนของพยางค
                           นั้น ก็เพราะวาสระมีคาพลังเสียง (sonority)  สูงสุด เมื่อเทียบกับพยัญชนะประเภทตางๆ คือจุดสุดยอด
                           ของพลังเสียงในการเปลงเสียงพยัญชนะสระชุดหนึ่งๆ (พยางคหนึ่งๆ) นั้นอยูที่สระ


                                 แตการอธิบายโดยทฤษฎีพลังเสียง (sonotiry  peak)  นี้ก็มีปญหา ตัวอยางเชน คําบางคํามียอด
                           ของพลังเสียง (sonority  peak)  มากกวาหนึ่งยอด แตผูพูด/ผูฟงรับรูวาเปนคําพยางคเดียวอยางเชน
                           คําวา   “ seal ”  ในภาษาอังกฤษมียอดพลังเสียงอยู 2 ยอด แตผูพูด/ผูฟงถือวาเปนคําพยางคเดียว เปนตน


                                        9.1.2      ทฤษฎีลมปอด (Chest Pulse theory) อธิบายวา พยางคทุกพยางคเกิดโดยลม
                          ปอด 1  กระแสที่พัดผานกลองเสียงขึ้นมา ทฤษฎีนี้นิยมใชอธิบายพยางคกันมาก แตจากการศึกษาลักษณะ
                          การทํางานของกลามเนื้อปอด พบวานิยามนี้ไมสอดคลองกับความเปนจริงทางสรีระคือในการพูดนั้น

                          กลามเนื้อปอดไมไดผลักลมออกจากปอด  1  กระแสตอ  1 พยางคทุกครั้งเสมอไป

                                        9.1.3  ทฤษฎีพยางค   คือหนวยเสียงระดับหนึ่งเนื่องจากทฤษฎีทั้งสองขางตน

                           ตางก็มีปญหาในการนิยามพยางค   ฉะนั้นนิยามที่ดีที่สุดคงจะเปนการจัดพยางคเปนหนวยเสียงหนึ่งหนวย
                           ในระดับสูงวาหนวยเสียงระดับพยัญชนะและสระโดยจัดพยัญชนะและสระเปนหนวยเสียงยอยซึ่งเปน

                          สวนประกอบของพยางค

                                               พยางคในแงนี้เปนเรื่องของนามธรรม (abstract)  แตเราสามารถพิสูจนใหเห็น
                           จริงไดวา หนวยเสียงที่เปนพยางคนี้มีจริง จากพฤติกรรมทางเสียงในภาษาตางๆ เชนคําผวน การสัมผัส
                           พยัญชนะ สัมผัสสระในคํากลอน ฯลฯ (Ladefoged, 1993:248)


                          9.2    องคประกอบของพยางค  (Syllable organization)

                                         นักภาษาศาสตรตั้งแตเคนเน็ธ ไพค (Kenneth Pike 1947) เปนตนมาไดจัดองคประกอบ
                          ของพยางคเปนสามสวน คือพยัญชนะตน (onset) สระ (nucleus) และพยัญชนะทายพยางค (coda) สําหรับ

                          สระและพยัญชนะทายพยางคนั้น ยังสามารถรวมกลุมกันเปนหนวยยอยของพยางคเรียกวาสวนทายพยางค
                          (syllable rime) ดังแผนภูมิในภาพ 9.2 นี้

                                                            σ

                                               Onset        Rime


                                                            Nucleus                    Coda


                                                C            V                    C
                              ภาพที่ 9.2 แผนภูมิแสดงองคประกอบของพยางค (โดย σ = syllable, C = consonant, V  = vowel)
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103